คลังบทความของบล็อก

วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

มหันตภัย 'ไฟป่า'

ไฟป่า คือไฟที่เกิดขึ้นจากสาเหตุอันใดก็ตามแล้วลุกลามไปได้โดยอิสระปราศจากการควบคุม ทั้งนี้ไม่ว่าไฟนั้นจะลุกลามเข้าป่าธรรมชาติหรือสวนป่า

องค์ประกอบของไฟ(สามเหลี่ยมไฟ)
ไฟเป็นผลลัพธ์ที่เกิดจากขบวนการทางเคมี เมื่อมีองค์ประกอบทั้ง 3 ประการมารวมตัวกันในสัดส่วนที่เหมาะสมและเกิดการสันดาปให้เกิดไฟขึ้น คือ
1. เชื้อเพลิงได้แก่ อินทรีย์สารทุกชนิดที่ติดไฟได้ เช่น ต้นไม้ ไม้พุ่ม กิ่งไม้ ก้านไม้ ตอไม้ กอไผ่ รวมไปถึงดินอินทรีย์ และชั้นถ่านหินที่อยู่ใต้ผิวดิน
2. ความร้อน ซึ่งจะมาจาก 2 แหล่ง คือแหล่งความร้อนตามธรรมชาติ เช่น ฟ้าผ่า การเสียดสีของกิ่งไม้และแหล่งความร้อนจากการกระทำของมนุษย์ เช่น การจุดไฟในป่าด้วยสาเหตุต่างๆ
3. ออกซิเจน เป็นก๊าซที่มีโดยทั่วไปในป่า ซึ่งจะมีการแปรผันตามทิศทางของลม
ชนิดของไฟป่า
ไฟป่า แบ่งเป็น 3 ชนิดซึ่งตามลักษณะของเชื้อเพลิงที่ถูกเผาไหม้ ได้แก่
1. ไฟใต้ดิน เป็นไฟที่ไหม้อินทรีย์ วัตถุที่สะสมอยู่ในดิน โดยลุกลามไปช้าๆใต้ผิวดินซึ่งยากที่จะสังเกตเห็นได้ เนื่องจากเปลวไฟหรือแสงสว่างไม่โผล่พ้นขึ้นมาบนดินเลย ทั้งควันก็มีน้อยยากต่อการดำเนินการดับไฟ ในประเทศไทยพบไฟใต้ดินในป่าพรุแถบภาคใต้ของประเทศ ซึ่งไฟใต้ดินยังสามารถแบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ
- ไฟใต้ดินสมบูรณ์แบบ คือไฟที่ไหม้อยู่ใต้ผิดพื้นป่าจริงๆ ต้องใช้เครื่องมือพิเศษในการตรวจจับความร้อนจึงจะพบไฟชนิดนี้
- ไฟกึ่งผิวดินกึ่งใต้ดิน ได้แก่ไฟที่ไหม้ไปในแนวระนาบตามพื้นป่าเช่นเดียวกับไฟผิวดิน ขณะเดียวกันส่วนหนึ่งก็ไหม้ในแนวดิ่งลึกลงไปในชั้นใต้ผิวพื้นป่า
2. ไฟผิวดินเป็นไฟที่เผาไหม้เชื้อเพลิงบนผิวดิน ไฟชนิดนี้จะเผาไหม้ลุกลามไปตามผืนป่าซึ่งเชื้อเพลิงส่วนใหญ่ได้แก่ หญ้า ใบไม้แห้ง กิ่งไม้ที่ร่วงหล่น ลูกไม้ รวมทั้งไม้พุ่มต่างๆ ไฟชนิดนี้มีการลุกลามอย่างรวดเร็วซึ่งความรุนแรงจะขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของเชื้อเพลิง ไฟป่าที่เกิดขึ้นในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นไฟชนิดนี้
3. ไฟเรือนยอด เป็นไฟทีลุกลามไปตามเรือนยอดของต้นไม้ โดยเฉพาะในป่าสน ซึ่งไม้ชนิดนี้มียางซึ่งช่วยให้เกิดการลุกลามได้ดี โดยมี 2 ลักษณะคือลักษณะที่อาศัยไฟผิวดินเป็นสื่อ ในการลุกไหม้ก่อนไหม้ลุกลามไปตามเรือนยอด และไปสู่เรือนยอดต้นอื่นต่อไป และที่ไม่อาศัยไฟผิวดินเป็นสื่อ เกิดในป่าที่มีเรือนยอดแน่นทึบติดกันและมีไม้ยืนต้นชนิดที่ติดไฟได้ง่าย ซึ่งรุนแรงและยากต่อการควบคุม เราสามารถแบ่งไฟเรือนยอดออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้
3.1 ไฟเรือนยอดที่ต้องอาศัยไฟผิวดินเป็นสื่อ คือไฟที่ต้องอาศัยไฟที่ลุกลามไฟตามผิวดินเป็นตัวนำเปลวไฟขึ้นไฟสู่เรือนยอดของต้นไม้ ลักษณะของไฟชนิดนี้จะเห็นไฟผิวดินลุกลามไปก่อนแล้วตามด้วยไฟเรือนยอด
3.2 ไฟเรือนยอดที่ไม่ต้องอาศัยไฟผิวดิน เกิดในผ่าที่มีต้นไม้ที่ติดไฟได้ง่ายและมีเรือนยอดแน่นทึบต่อติดกัน การลุกลามจะเป็นไปอย่างรวดเร็วและรุนแรงจากเรือนยอดหนึ่งไปสู่อีกเรือนยอดหนึ่งและเมื่อลูกไฟตกลงบนพื้นป่า ก็จะทำให้เกิดไฟผิวดินไฟพร้อมๆ กันด้วย
สาเหตุของการเกิดไฟป่า 
    ไฟป่าจะเกิดขึ้นได้หรือไม่ต้องอาศัยปัจจัย 3 สิ่งคือ เชื้อเพลิง ออกซิเจน และความร้อน ซึ่งเป็น"องค์ประกอบของไฟ" โดยปกตินั้นในป่ามีทั้งเชื้อเพลิงเช่น กิ่งไม้ใบไม้แห้งต่างๆและออกซิเจนหรืออากาศอยู่แล้ว หากมีความร้อนขึ้นย่อมทำให้เกิดไฟป่าขึ้น ฉะนั้น"ความร้อน"จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดไฟป่าขึ้น
ต้นเหตุที่ทำให้เกิดความร้อนขึ้นจนกระทั่งกลายเป็นไฟป่าอาจเกิดจากธรรมชาติเอง เช่น ต้นไม้เสียดสีกัน ฟ้าผ่าเป็นต้น หรือจากคนที่จุดไฟขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ต่างๆ ในประเทศไทยไม่พบไฟป่าที่เกิดโดยความร้อนตามธรรมชาติ ส่วนใหญ่เกิดจากฝีมือของคนทั้งสิ้น มนุษย์จึงเป็นต้นเหตุของไฟป่า ที่สำคัญยิ่ง
"สาเหตุ" ที่ทำให้เกิดไฟป่าโดยฝีมือของมนุษย์ทั้งตั้งใจหรือโดยประมาทในประเทศไทยแบ่งตามลักษณะของกิจกรรมและวัตถุประสงค์ที่เกิดขึ้นดังนี้
  • -ล่าสัตว์- จุดไฟเพื่อให้สัตว์หนีออกจากที่ซ่อน เพื่อสะดวกในการล่า
    -เผาไร่- เผากำจัดวัชพืช เตรียมพื้นที่เพาะปลูกโดยปราศจากการควบคุมทำให้ไฟลุกลามเข้าไปในป่า
    -หาของป่า- ตีผึ้ง เก็บไข่มดแดง ผักหวาน หน่อไม้ เห็ด ใบตองตึง เก็บฟืน
    -เลี้ยงสัตว์- เพื่อให้หญ้าแตกใบอ่อนเป็นอาหารสัตว์ในบริเวณใกล้พื้นที่ป่าแล้วเกิดลุกลามเข้าไปในป่า
    -นักท่องเที่ยว- หุงต้มอาหาร ให้แสงสว่าง ให้ความอบอุ่น แล้วดับไม่สนิทเกิดเป็นไฟป่าในที่สุด
    -ความขัดแย้ง- ชาวบ้านอาจเกิดความขัดแย้งกับหน่วยราชการในพื้นที่แล้วแกล้งโดยจุดไฟเผาป่า
    -ลักลอบทำไม้- เผาทางให้โล่งเตียนเพื่อสะดวกในการลากไม้ ไล่ยุง หุงต้มอาหารในป่า เป็นต้น

ผลกระทบจากไฟป่า 
ผลกระทบจากไฟป่าต่อสังคมพืช
- ขาดช่วงการสืบพันธุ์ทดแทนตามธรรมชาติ
- เปลี่ยนแปลงโครงสร้างป่า
- ลดการเจริญเติบโตและคุณภาพของเนื้อไม้
ทันทีที่เกิด"ไฟป่า"ขึ้นความร้อนและเปลวไฟจากไฟป่า จะทำลายลูกไม้ กล้าไม้เล็กๆในป่า หมดโอกาสเติบโตเป็นไม้ใหญ่ ส่วนต้นไม้ใหญ่หยุดการเจริญเติบโต เนื้อไม้เสื่อมคุณภาพลง เป็นแผลเกิดเชื้อโรคและแมลงเข้ากัดทำลายเนื้อไม้ สภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์เปลี่ยนสภาพเป็นทุ่งหญ้าไปในที่สุด

ผลกระทบจากไฟป่าต่อสัตว์ป่าและสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ในป่า
- ทำอันตรายต่อชีวิตของสัตว์ป่า
- ทำลายแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า
- ทำอันครายต่อชีวิตของสัตว์เล็กๆ และจุลินทรีย์ในดิน
"ไฟป่า" ส่งผลให้สัตว์ป่าได้รับบาดเจ็บ ล้มตาย เพราะหนีไฟไม่ทันโดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกอ่อนและสัตว์ที่เคลื่อนไหวช้า ที่หนีรอดก็ขาดที่อยู่อาศัยรวมไปถึงแหล่งอาหาร ในที่สุดก็อาจต้องตายเช่นเดียวกัน

- การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เนื่องจากอุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้น
- การเกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก
หมอกควันที่เกิดจาก"ไฟป่า" ก่อให้เกิดผลกระทบมากมายทั้งสภาวะอากาศเป็นพิษทำลายสุขภาพของคน เกิดทัศนวิสัยไม่ดีต่อการบินเครื่องบินบางครั้งไม่สามารถขึ้นบินหรือลงจอดได้ส่งผลให้เกิดผลเสียหายทางเศรษฐกิจ รวมไปถึงสูญเสียสภาพความสวยงามตามธรรมชาติ ทำให้สภาพไม่เหมาะในการท่องเที่ยวอีกต่อไป

ผลกระทบจากไฟป่าต่อดินป่าไม้
- เกิดการสูญเสียหน้าดินโดยการกัดชะและการพังทลาย
- เปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของดิน
Y คุณสมบัติทางกายภาพ
Y คุณสมบัติทางเคมี
"ไฟป่า" เผาทำลายสิ่งปกคลุมดิน หน้าดินจึงเปิดโล่ง เมื่อฝนตกลงมาเม็ดฝนก็จะตกกระแทกกับหน้าดินโดยตรง เกิดการชะล้างพังทลายของดินได้ง่าย ทำให้น้ำที่ไหลบ่าไปตามหน้าดิน พัดพาหน้าดินอันอุดมสมบูรณ์ไปด้วย และดินอัดตัวแน่นทึบขึ้นการซึมน้ำไม่ดี ทำให้การอุ้มน้ำหรือดูดซับความชื้นของดินลดลงไม่สามารถเก็บกักน้ำและธาตุอาหารที่จำเป็นต่อพืชได้

ผลกระทบจากไฟป่าต่อน้ำ
- สมดุลของน้ำเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดอุทกภัยและภัยแล้ง
- เปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของน้ำ
น้ำที่เต็มไปด้วยตะกอนและขี้เถ้าจากผลของ"ไฟป่า"จะไหลสู่ลำห้วยลำธาร ทำให้ลำห้วยขุ่นข้นมีสภาพไม่เหมาะต่อการใช้อีกต่อไป เมื่อดินตะกอนไปถับถมในแม่น้ำมากขึ้น ลำน้ำก็จะตื้นเขิน จุน้ำได้น้อยลง เมื่อฝนตกลงมาน้ำก็จะเอ่อล้นท่วมสองฝั่งเกิดเป็นอุทกภัย ที่สร้างความเสียหายในด้านการเกษตรการเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์ และสร้างความเสียหายเมื่อน้ำทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนทำให้ทรัพย์สินได้รับความเสียหาย
หน้าแล้งพื้นดินที่มีแต่กรวดทรายและชั้นดินแน่นทึบจากผลของ"ไฟป่า" ไม่สามารถเก็บกักน้ำในช่วงฤดูฝนเอาไว้ได้ ทำให้ลำน้ำแห้งขอดเกิดสภาวะแห้งแล้งขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภคและเพื่อการเกษตร

ผลกระทบจากไฟป่าต่อการนันทนาการ
    ผลกระทบต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากไฟป่านั้น มีส่วนในการทำลายธรรมชาติ ซึ่งเป็นสถานที่ และแหล่งท่องเที่ยวอันเป็นรายได้สำคัญของประเทศ รวมทั้งจะทำให้ขาดแหล่งพักผ่อนหย่อนใจตามธรรมชาติ
ผลกระทบจากไฟป่าต่อทรัพย์สิน สุขภาพ และชีวิตของมนุษย์
ในพื้นที่ที่เกิดไฟป่า ส่วนใหญ่จะทำความเสียหายให้กับบ้านเรือนของราษฎรที่อาศัยอยู่บริเวณชายป่า ทั้งบ้านเรือนที่ถูกไฟไหม้ พืชผลทางการเกษตร หรือแม้แต่ชีวิต
หมอกควันที่เกิดจากไฟป่า มีผลกระทบโดยตรงที่จะสร้างความเสียหายให้กับการเดินอากาศ รวมทั้งมีผลทำให้ประชาชนในบริเวณดับกล่าวจำนวนมาก ป่วยเป็นโรคระบบทางเดินหายใจ
แนวคิดเกี่ยวกับไฟป่า 
    ชาวบ้าน ขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องไฟป่า ความประมาทรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ขาดความรู้สึกหวงแหนป่า ทำให้ไม่ได้ร่วมมือกันป้องกันไฟป่าอย่างจริงจังและสาเหตุใหญ่คือคนที่ขาดจิตสำนึกบางคนเผาป่าโดยเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวเป็นสำคัญ
เจ้าหน้าที่ จัดการป่าไม้ได้ไม่ทั่วถึงมีวัชพืชที่เป็นเชื้อเพลิงมากในหน้าแล้ง การป้องกันและควบคุมไฟป่าปฏิบัติครอบคลุมไม่ได้ทั่วถึง ขาดงบประมาณและเจ้าหน้าที่อีกจำนวนมาก รวมทั้งยังไม่ได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านเท่าที่ควรด้วย


วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

recycle ad

สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหามลภาวะแก่แม่น้ำลำคลอง


น้ำเสียจากบ้าน ร้านค้าและอาคารที่ทำการ
          ชุมชนที่มีบ้านเรือนที่อยู่อาศัยหลายๆ หลังคาเรือน ย่านการค้าหรืออาคารที่ทำการ ล้วนจำเป็นต้องใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และใช้สอยในจุดประสงค์อื่นๆ
น้ำที่ใช้นี้จะมีปริมาณหนึ่งซึ่งเป็นปริมาณส่วนใหญ่กลายเป็นน้ำทิ้งออกมา น้ำทิ้งนี้ส่วนมากจะเป็นน้ำจากส้วมและจากการชำระซักล้าง
ซึ่งประกอบไปด้วยสารอินทรีย์สบู่ ผงซักฟอก เศษอาหาร ไขมัน
สารอนินทรีย์และสิ่งปฏิกูลอื่นๆ เจือปนอยู่ สารเหล่านี้เมื่อไหลลงสู่แม่น้ำลำคลอง จะเกิดผลเสียสองประการใหญ่ๆ คือ
ประการแรกช่วยเพิ่มอาหารเสริมแก่พืชน้ำและสัตว์น้ำ
ทำให้มีพืชน้ำและสัตว์น้ำเพิ่มขึ้นเมื่อพืชน้ำและสัตว์น้ำตายไป
จะทำให้เกิดสารอินทรีย์ในน้ำเพิ่มขึ้น สารอินทรีย์ที่มีจากน้ำทิ้งและที่เกิดเพิ่มขึ้นนี้
ถ้ามีจำนวนมากเมื่อถูกย่อยสลายโดยแอโรบิคบัคเตรีที่มีอยู่ในน้ำ
ก็จะนำเอาออกซิเจนละลายในน้ำมาใช้ในอัตราที่สูงกว่าอัตราที่ออกซิเจนในอากาศ
ละลายลงในน้ำ ทำให้เกิดสภาพขาดออกซิเจนขึ้น อันเป็นสภาวะแวดล้อมที่เหมาะกับแอนแอโรบิคบัคเตรีให้ย่อยสลายสารอินทรีย์ต่อ ไป ทำให้น้ำกลายเป็นสีดำมีกลิ่นเหม็น ส่วนสารอื่นๆ ที่ปนมา เช่น สารอนินทรีย์จะเพิ่มปริมาณสูงขึ้น ทำให้คุณภาพน้ำทิ้งไม่ได้มาตรฐานและเสียประโยชน์ใช้สอยไป นอกจากนี้ถ้าน้ำทิ้งมีเชื้อโรคชนิดต่างๆ ที่เป็นอันตราย เช่นบัคเตรี และ ไวรัส ก็จะทำให้เกิดโรคได้

น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม
          น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมได้แก่ น้ำทิ้งจากระบบการผลิต ระบบการหล่อเย็น อาคารที่อยู่อาศัยและที่ทำการ ร้านค้าและโรงอาหารสารที่ปะปนมาอาจจะเป็นสารอินทรีย์ สารอนินทรีย์ กรดด่าง โลหะหนัก สารเคมีต่างๆ  สารกัมมันตภาพรังสี สารพิษ ดินทรายและสิ่งปฏิกูลอื่นๆซึ่งเมื่อทิ้งลงในแม่น้ำลำคลอง  จะทำให้เพิ่มปริมาณสารเหล่านั้นหรือเกิดการเป็นพิษกับสิ่งมีชีวิตในน้ำ เกิดการเน่าเหม็น เกิดสี กลิ่น และความไม่น่าดู

ปุ๋ยที่ใช้ในการเกษตร
          ปุ๋ยหลักที่ใช้ในการเกษตรได้แก่ สารไนโตรเจนและฟอสฟอรัส  ฟอสฟอรัสที่อยู่ในรูปของฟอสเฟตสามารถยึดติดอยู่กับดินได้ จึงมีส่วนน้อยที่ไหลไปกับน้ำ ดังนั้นสารที่ทำให้เกิดปัญหาคือไนโตรเจน การใช้ปุ๋ยส่วนใหญ่มักใส่กันมากเกินกว่าที่พืชจะนำไปใช้ได้หมด เมื่อฝนตกน้ำฝนจะชะเอาไนโตรเจนไหลไปตามผิวดิน ลงสู่แม่น้ำลำคลอง ช่วยให้สาหร่ายเจริญเติบโตได้ดีเป็นจำนวนมาก ทำให้น้ำเกิดสี กลิ่น และรส เมื่อสาหร่ายเหล่านี้ตายลง ก็จะทำให้น้ำเน่าเหม็นและมีฟีนอลสูงขึ้น เกิดฝ้าขาวลอยอยู่ตามผิวน้ำ

ผิวดินที่พังทลาย
          ในพื้นที่รับน้ำบางแห่ง เช่น อ่างเก็บน้ำที่เสื่อมสภาพและมีการพังทลายของหน้าดิน จะทำให้น้ำมีความขุ่นสูง เกิดสี กลิ่น และรสได้

การเลี้ยงปศุสัตว์
          การเลี้ยงปศุสัตว์ ถ้าสัตว์เลี้ยงกินหญ้าที่คลุมหน้าดินมากเกินไปจะทำให้หน้าดินถูกน้ำกัดเซาะ เมื่อฝนตก และเมื่อไหลลงในแหล่งรับน้ำก็จะเกิดปัญหาเช่นเดียวกับข้อ ๔ นอกจากนี้มูลสัตว์ก็จะไหลลงไปในลำน้ำทำให้มีสารอินทรีย์ ไนโตรเจน และฟอสฟอรัสสูง

ยาฆ่าแมลงและยากำจัดวัชพืช
          ยาฆ่าแมลงและยากำจัดวัชพืชส่วนมากเป็นสารเคมีที่บางครั้งก็เป็นสารมีพิษ เมื่อถูกชะล้างลงไปในน้ำ ก็จะเป็นพิษแก่พืชและสัตว์ที่อยู่ในน้ำหากเรานำน้ำไปใช้ก็จะได้รับอันตราย จากสารพิษนั้นด้วย


ไฟป่า
          ถ้าเกิดไฟป่าในบริเวณพื้นที่ที่เป็นแหล่งต้นกำเนิดน้ำจะทำให้มีขยะ  เถ้าถ่าน  ตะกอนทรายรวมทั้งสารมลพิษต่างๆ ไหลลงไปในแหล่งน้ำเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะส่งผลเสียต่อคุณภาพของน้ำที่นำไปใช้สอย อีกทั้งอาจจะทำให้อ่างเก็บน้ำหรือแม่น้ำตื้นเขินเนื่องจากการสะสมของเถ้า ถ่านและตะกอนต่างๆ

การใช้ที่ดินที่ขาดการควบคุม
          การใช้ที่ดินสองข้างหรือรอบๆ แหล่งน้ำที่ขาดการควบคุมหรือการกำหนด จะทำให้เกิดผลเสียต่อคุณภาพของน้ำได้ ดังนั้น จึงควรกำหนดเขตหรือห้ามการขยายชุมชนหรือการตั้งโรงงานตามริมน้ำที่นำน้ำไป ใช้ประโยชน์ในการทำประปา

การแก้ไขปัญหา
         การ แก้ไขปัญหาน้ำเสียมีทั้งมาตรการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คือ
เครื่องเติมออกซิเจนให้แก่น้ำ
การบำบัด การกำจัดหรือหมุนเวียนของเสียต่างๆ จากกระบวนการทางอุตสาหกรรม
เกษตรกรรม การแสวงหาและใช้ทรัพยากรธรรมชาติ
นอกจากนี้ยังมีมาตร-การทางกฎหมาย ข้อบังคับมาตรฐานต่างๆ
ตลอดจนการจัดตั้งองค์กร
และการใช้อำนาจทางการบริหารเข้าเสริมในการป้องกันแก้ไข 
การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเป็นวิธีการหนึ่งในการป้องกันและแก้ไขที่ใช้
มาตรการทั้งทางกฎหมาย  ทางการบริหาร
และทางเทคโนโลยีร่วมกันในการแก้ไขปัญหาน้ำเสียและมลพิษต่างๆ


credit :: http://guru.sanook.com/search/%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1