คลังบทความของบล็อก

วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554

ประเภทของพลังงานทดเเทน

ท่านอดีตรองประธานาธิปดี Al Gore เขียนเอาไว้ว่ามนุษยเรามีเครื่องมือเเละความสามารถที่จะช่วยเหลือเเละเเก้ไข้ปัญหาวิกฤติสภาพภูมิอากาศเเละการขาดเเคลนพลังงานอยู่เเค่ปลายนิ้วของเรา เเต่เราขาดอีกเพียงสิ่งเดียวเท่านั้นคือ ความสามัคคีเเละความตั่งใจของส่วนรวม สุภาษิตเก่าของชาวเเอฟริกากล่าวว่า ถ้าเราต้องการที่จะเดินทางเร็วให้ไปคนเดียว เเต่ถ้าเราต้องการที่จะไปไกลให้ไปเป็นกลุ่ม ตอนนี้มันถึงเวลาเเลัวที่เราต้องเดินทางทั้งเร็วเเละไกลเพื่อโลกของเราใบนี้
จากข้อความข้างต้นนั้นจะเห็นได้ว่าเรามีเครื่องมือเเละอุปกรนที่จะสามารถช่วยเหลือโลกอันสวยงามของเรามานานเเล้ว หากเเต่ว่าเมื่อก่อนเรายังขาดความเข้าใจเเละเรายังละเลยในหน้าที่ของเรา อีกส่วนนึงที่เป็นสาเหตุใหญ่นั้นก็คือเงินเเละผลกำไร บริบัษน้ำมันได้ล็อบบี้(Lobby)นัก การเมืองเเละนักกฎหมายไว้ในสังกัดของตัวเองซึ่งทำให้การที่จะผ่านกฏหมายหรือ ระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวกับพลังงานทดเเทนหรือสิ่งเเวดล้อมเป็นไปได้ยาก เเต่ในปัจจุบันทุกคนคำนึงถึงการอนุรักษืโลก เราได้รับความรู้เเละเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับปัญหาที่โลกของกำลังประสบ พอเรามีความรู้เเละเข้าใจเเล้วมันเป็นการยากที่รัฐบาลจะเพิกเฉยเหมือนเเต่ก่อน

เรามากล่าวถึงประเภทของพลังงานทดเเทนเเละการผลิตไฟฟ้าของมันกันอย่างคร่าวๆ
พลังงานจากน้ำ(Hydropower)
โลกของเรานั้นครอบคุมไปด้วยพื้นน้ำถึง 70% ทำให้น้ำเป็นเเหล่งผลิตพลังงานทดเเทนที่ใหญ่ที่สุด หลักการเบื้องต้นของพลังงานจากน้ำคือ การใช้เเรงดันเเละระบบไหลเวียนตามธรรมชาติของน้ำมาขับดันใบพัดของเครื่องกำเนิดไฟผลิต เราเห็นได้ทั่วไป คือเขื่อนผลิตไฟฟ้าต่างๆ อย่างเช่น Hoover Dam หรือ เขื่อนสิริกิต การสร้างพลังงานจากน้ำไม่ได้หมดเเค่เเม่น้ำลำธาร เราสามารถผลิตไฟฟ้าจากคลื่นทะเลได้อีกด้วย ทั่งจากกลางทะเล เเละชายหาด เราเรียกว่าพลังงานทดเเทนเเบบนี้ว่า พลังงานจากคลื่นน้ำ (Tidal Power) เราใช่กฎธรรมชาติของน้ำขึ้นน้ำลงเป็นตัวผลิตไฟฟ้า
พลังงานจากลม (Wind Power)
ลมเป็นเเหล่งสร้างพลังงานมากาลนานเเละยังเป็นเเหล่งพลังงานอีกอย่างนึงที่น่าที่จะนำมาใช่ในการผลิตกระเเสไฟฟ้าอย่างยิ่ง เริ่มตั่งเเต่สมัยก่อนนั้นคนสมัยโบรานใช่กังหันลมในการสูบน้ำเก็บไว้ใช่หรือใช่กังหันในการช่วยโม่เเป้งเเบบที่เราเห็นในหนังคาวบอย เเต่ไม่นานมานี้ที่นักวิทยาศาตรนำเอาพลังงานจากลมมาผลิตไฟฟ้า เราใช่การหมุนของกังหันไปปั่นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าผลิตกระเเสไฟฟ้าขึ้นมา ที่ใกล้ตัวที่สุดคงเป็นเวลาที่เราขับรถจากฟีเวย์ 5 เข้าไปซานฟราซิสโดยฟรีเวย์ 580 เราจะเห็นกังหันลมตามไหล่เขา ซึ่งเรียกกันว่าเเอลทาเมาพาส วินฟาร์ม ( Altamont Pass Wind Farm) “
พลังงานจากชีวมวล (Biomass )
ชีวมวลนั้นคือสารอินทรีย์ที่เกิดขึ้นจากต้นไม้หรือจุลินทรีย์ สารอินทรีย์เป็นเเหล่งกักเก็บพลังงานที่ได้รับจากพระอาทิตย์ เช่นต้นไม้ได้รับพลังงานจากเเสงเเดดเก็บสะสมไว้ พอต้นไม้ตายเรานำเอาลำต้นของมันมาทำฝืนผลิตไฟใช่ในการหุงต้มหรืออบอุ่น ชีวมวลเป็นพลังงานทดเเทนพราะว่าเราสามารถปลูกต้นไม้ขึ้นมาใหม่ทดเเทนได้ ตัวอย่างที่เราเห็นกันคือ ก็าซโซฮอล ถึงเเม้ว่าน้ำมันชนิดนี้จะยังใช่น้ำมันเบนซิลเป็นส่วนหลักเเต่ก็มีส่วนผสมของเอธานอลอยู่ 10% ซึ่งเอธานอลก็คือเอธิกอัลกอฮอลที่ผลิตจากข้าวโพด ทำให้เราไม่ต้องใช้น้ำมันเบนซิลทั้งหมด หรือ ไบโอดีเซลซึ่งเป็นผลผลิตจากการนำน้ำมันพืชมากลั่นเป็นน้ำมันดีเซล ในไม่ช้าเราอาจจะมีรถพลังข้าวโพด เปลี่ยนจากไมล์ต่อเเกลลอน เป็นไมล์ต่อฝักก็ได้
พลังงานจากความร้อนใต้โลก (Geothermal Energy)
ภายในใต้โลกของเรานั้นมีพลังงานอันมหึมาไหลวนเวียนอยู่คือการไหลของเเมกม่า (Magma) เมื่อเเมกม่าไปเจอเเหล่งน้ำใต้ดิน ทำให้เกิดไอน้ำร้อน ไอน้ำร้อนนี้ก็จะพยายามชอนไชผ่านช่องว่างระหว่างหินเพื่อหาทางระบายเมื่อไอร้อนเจอความเย็นบนพื้นโลกก็ทำให้เกิดน้ำพุร้อน ซึ่งเเรงดันไอน้ำน้นมีมหาศาลนักวิทยาศาตร์จึงได้ใช่หลักการง่ายๆนี้มาผลิตไฟฟ้า ประเทศไอส์เเลนเป็นประเทศที่พึ่งพาพลังงานจากจีโอเทอรโมถึง 30% ของในการผลิตไฟฟ้าทั่งประเทศ ฟิลิปปินก็พึ่งการสร้างพลังงานด้วยวิธีนี้ถึง 27% ประเทศไทยของเรานั้นมีบ่อน้ำพุร้อนในหลายๆจังหวัด บางทีโรงไฟฟ้า geothermal ใหญ่ๆอาจผลิตไฟฟ้าเพียงพอต่อการขยายตัวของประเทศก็ได้
พลังงานจากเเสงอาทิตย์ (Solar Energy)
พลังงานแสงอาทิตย์หรือพลังงานที่ผลิตโดยพระอาทิตย์นั้นเราสามารถที่จะเอามันมาใช้ได้ในหลายรูปเเบบเช่นในรูปแบบของความร้อน หรือในรูปเเบบของพลังงานไฟฟ้า มนูษย์เราพึ่งพลังงานจากพระอาทิย์มาตั่งเเต่สมัยนานมาเเล้วเช่นการตากผ้าหรือการถนอมอาหาร เเละมีการพัฒนามาเรื่อยซึ่งบางที่เรามองข้ามสิ่งรอบๆตัวเราไป อาทิเช่นครื่องคิดเลขพลังงานโซลาซึ่งมีมาตั่งเเต่ปี 80หรือโทรศัพย์ฉุกเฉินข้างฟรีเวย์ซึ่งยากที่จะดึงสายไฟไปถึง พลังงานไฟฟ้าจากพระอาทิตย์นั้นเเบ่งออกเป็นสองเเบบใหญ่ๆคือ Solar Thermal Energy พลังงานไฟฟ้าที่ได้รับจากการสะสมความร้อนจากเเสงเเดดเเล้วนำความร้อนไปใช้ผลิตไฟฟ้า เเละอีกรูปเเบบนึงเรียนว่า Photovoltaic คือการผลิตพลังงานไฟฟ้าที่ได้จากการเปลี่ยนเเสงเเดดเป็นพลังงานไฟฟ้าโดยตรง
ที่มา : http://www.thaigreenenergy.com/?p=83

วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2554

โลกร้อน อันตราย 'ไวรัสอุบัติใหม่'

ผลลบที่เกิดจากภาวะ “โลกร้อน” โดยเฉพาะที่มาในรูปแบบ “โรคร้าย” นับวันจะยิ่งเป็นภัยคุกคามผู้คนทั่วโลก รวมถึงคนไทยเราด้วย ซึ่งนอกจากจะต้องช่วยกันหยุดทำลายสิ่งแวดล้อม ช่วยกันฟื้นฟูสภาพแวดล้อมแล้ว การรู้เท่าทัน-ป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น-รุนแรงขึ้นเพราะภาวะโลกร้อน ก็เป็นสิ่งที่สำคัญ

“โรคร้าย” ที่เกี่ยวกับ “โลกร้อน” น่ากลัว !!

และ “พาหะนำโรค” ก็อยู่ใกล้ ๆ ตัวคนไทย...

ทั้งนี้ ในการบรรยายหัวข้อ “จากโรคร้อนสู่โรคร้าย ภัยรุมล้อมประเทศไทย” ที่จัดไปเมื่อเร็ว ๆ นี้ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา นัก วิชาการศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลกด้านค้นคว้าและอบรมโรค ติดเชื้อไวรัสสัตว์สู่คน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า... ในปี ค.ศ. 2009 นี้โลกเผชิญกับการระบาดของ ไข้หวัดใหญ่ 2009 ซึ่งในปีหน้า ปี ค.ศ. 2010 อาจจะมีการระบาดใหญ่ระลอกสองที่รุนแรงยิ่งขึ้นได้ เมื่อดูจากประวัติศาสตร์ที่เคยมีการระบาดระลอกสองของ ไข้หวัดเอเชีย ไข้หวัดสเปน ไข้หวัดฮ่องกง ซึ่งรุนแรงยิ่งขึ้น

หากมีการระบาดของไข้หวัดใหญ่ 2009 อีกระลอก คนที่เคยป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ 2009 แล้ว ก็อาจจะมีโอกาสเป็นซ้ำได้อีก ดังที่มีการรายงานในสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2552 ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นแพทย์ติดเชื้อครั้งแรกในเดือน ส.ค. พอเดือน ต.ค. ก็ติดเชื้ออีกเป็นครั้งที่สอง และแม้แต่คนที่เคยรับวัคซีนไข้หวัด 2009 แล้ว ก็ไม่ได้เป็นการประกันว่าจะไม่มีสิทธิที่จะติดเชื้อ ดังนั้นทุกคนจึงไม่ควรนิ่งนอนใจว่าเคยเป็นแล้วจะไม่เป็นอีก

ศ.นพ.ธีระวัฒน์บอกอีกว่า... การแพร่กระจายของไข้หวัด 2009 เป็นการแพร่เชื้อจากสัตว์สู่คน คือ จาก หมู แล้วแพร่ต่อจากคนสู่คน และอาจจะแพร่กระจายจากคนสู่สัตว์ อาทิ หมู หมา แมว เป็นต้น ซึ่งในหมูนั้นน่ากลัว เพราะถ้ามีการแพร่จากหมูมาสู่คนอีกรอบ ด้วยเหตุที่หมูเป็นสัตว์ที่รับไวรัสหลายประเภท อาจจะมีการผสมกับเชื้อโรคชนิดอื่นที่มีอยู่ก่อนหน้า เมื่อกลับมาแพร่สู่คนอีกก็จะน่ากลัวมากขึ้น ยาทามิฟลูต้านไวรัสจะเอาไม่อยู่ เพราะเชื้อดื้อยา

“ช่วงที่ผ่านมา ภัยธรรมชาติ น้ำท่วม น้ำขัง อากาศแปรปรวน เกิดมากขึ้นเป็นทวีคูณ และมีการขยายการอพยพของสัตว์เข้าหาที่ปลอดภัยกว่า รวมถึงสัตว์ฟันแทะ อาทิ หนู และค้างคาว สัตว์เหล่านี้เป็นพาหะที่ดีของไวรัสต่าง ๆ โดยแพร่เชื้อกันเอง หรือแพร่สู่สัตว์อื่นหรือคน หรือแพร่ผ่านยุง ไร ริ้น เห็บ”

เมื่อสถานการณ์เป็นเช่นนี้ ปี ค.ศ. 2010 จึงเป็นปีที่ต้องจับตามอง “ไวรัสอุบัติใหม่” ที่ก่อให้เกิด “โรคสมองอักเสบ” ซึ่งที่ผ่านมาโรคระบาดในวงกว้างจากไวรัส ก็อาทิ โรคสมองอักเสบ จาก ไวรัสชานดิ ปุระ ที่นำโรคโดย ริ้นฝอยทราย มีตัวซ่องสุมโรคใน วัว ควาย ซึ่งระบาดในอินเดียหลายระลอก ปี ค.ศ. 2003 มีคนตาย 183 ราย จากผู้ป่วย 329 ราย และช่วงปี ค.ศ. 2005-2006 มีคนตาย 49 ราย จากผู้ป่วย 90 ราย หลังจากนั้นก็ระบาดประปรายอยู่เรื่อย ๆ

ทั้งนี้ โรคสมองอักเสบจากไวรัสชานดิปุระ เคยมีการปะทะกับโรคสมองอักเสบจากค้างคาว และระบาดต่อเนื่องจากมาเลเซีย สิงคโปร์ อินเดีย บังกลาเทศ โดยตั้งแต่ปี ค.ศ. 1998 จนปัจจุบันมีผู้ป่วยเป็นโรคสมองอักเสบทั้งที่มีอาการปอดบวมร่วมและไม่มี จำนวน 475 ราย เสียชีวิต 247 ราย โดยการแพร่ระบาดเกิดได้ จากค้างคาวสู่หมู และหมู สู่คน หรือจากค้างคาวสู่คน และแพร่จากคนสู่คนโดยการไอจามรดกัน ติดทางฝอยน้ำลาย เสมหะ หรือแม้แต่การหายใจ

“นอกจากนี้ ยังต้องระวังโรคไข้เลือดออกแบบที่มีแต่อาการสมองอักเสบ โดยไม่มีอาการของไข้เลือดออก ซึ่งพบผู้ป่วยลักษณะเช่นนี้แล้วในปีนี้” ...ศ.นพ.ธีระวัฒน์ระบุในการบรรยายจากโรคร้อนสู่ โรคร้าย

ขณะที่ ดร.สุภาภรณ์ วัชรพฤกษาดี นักวิจัยศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลกอีกคน ก็บอกว่า... จากภาวะโลกร้อน การแพร่กระจายของ ไวรัสนิปาห์ ในค้างคาว ก็มีความเสี่ยงมากขึ้น ปีหน้าต้องระวังมากขึ้น เพราะอากาศที่เปลี่ยนแปลงกับไวรัสนิปาห์ในค้างคาวมีความสัมพันธ์กัน และมีการติดต่อของไวรัสจากค้างคาวสู่หมู จากหมูสู่คน ซึ่งอาการสมองอักเสบในหมูทำให้หมูตาย และ “ทำให้คนตายได้” โดยในประเทศไทยแม้จะยังไม่เคยมีรายงานผู้เสียชีวิต และการระวังป้องกันของภาครัฐค่อนข้างดี แต่ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ โดยเฉพาะช่วงอากาศร้อน

ด้าน ผศ.ดร.จิรพล สินธุนาวา คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า... โลกได้เข้าสู่ “ปรากฏการณ์เอล นินโญ่” เรียบร้อยแล้ว จาก “ภาวะโลกร้อน” อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้น เกิดภาวะแห้งแล้ง ขาดแคลนน้ำและอาหาร รวมทั้งมีการปนเปื้อนและเป็นที่มาของโรคทางเดินอาหารเพิ่มมากขึ้น โดยในทะเล สาหร่าย ชนิดที่สร้างสารพิษจะเติบโตอย่างรวดเร็ว เมื่อปลากินสาหร่ายนี้ก็จะสะสมสารพิษและถ่ายทอดในห่วงโซ่อาหารมากขึ้นตามลำดับ ซึ่งเมื่อมนุษย์บริโภคปลาที่สะสมสารพิษ ก็จะทำให้ป่วย ตั้งแต่ระดับไม่มาก จนถึงขั้นโคม่า

“โลกร้อนนำมาสู่การเปลี่ยนแปลง จึงควรต้องระมัดระวังกันให้มากกับการบริโภคอาหารทะเลในยามที่โลกเข้าสู่ภาวะโลกร้อนด้วย” ...นักวิชาการคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุ

“โรคร้าย” ขยายตัวคุกคามมนุษย์เพราะ “โลกร้อน”

จากนี้ไปโรคร้าย ๆ จาก “ไวรัสอุบัติใหม่” ยิ่งน่ากลัว

อย่าประมาท-หยุดทำร้ายโลก...ก่อนจะสายเกินแก้ !!.


อ้างอิงจากเว็บ sanook

โลกร้อน ไวรัสอุบัติใหม่ ;)

วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2554

" ทรัพยากรบนโลกมีเพียงพอสำหรับทุกคน แต่ไม่พอสำหรับคนโลภแม้เพียงคนเดียว "


         จำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรธรรมชาติมาก สำหรับสนองความต้องการมนุษย์  ความต้องการที่เพิ่มขึ้นอาจยังส่งผลให้เกิดสภาวะขาดแคลน เช่น ในด้านของทรัพยากรดินซึ่งเป็นปัจจัยหลักสำหรับผลิตอาหารและการเพาะปลูกพืช อื่นๆ แม้ว่าโลกจะมีพื้นที่มากมาย แต่ก็อาจไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูก เพราะว่ามนุษย์ยังคงกระทำหลายอย่างที่เป็นการทำลายทรัพยากรดิน  เช่น  การใช้สารเคมีต่าง  กาขุดหน้าดินไปขาย  และมนุษย์บางพวกยังมีการทำไร่เลื่อนลอย  ไม่ใช้เพียงแค่ทำลายทรัพยากรดินเท่านั้นแต่ยังทำลายทรัพยากรป่าไม้อีกด้วย   ปัจจัยหลายอย่างในการดำรงชีวิตอยู่ของมนุษย์ การเพิ่มขึ้นของประชากรไม่ เพียงแต่จะ ก่อปัญหากับเพื่อนมนุษย์กันเองเพราะต้องแย่งทรัพยากรกันเท่านั้น  หากยังรุกรานสิ่งมีชีวิตอื่นซึ่งเท่ากับเป็นการทำลายความหลากหลายทางชีวภาพ ด้วย  และมนุษย์ยังเข้าไปเปลี่ยนแปลงวัฏจักรของสิ่งมีชีวิตอื่นให้ผิดเพี้ยนไปจาก เดิม

        การดำรงชีวิตของมนุษย์ทำให้  เกิดค่านิยมใหม่ๆที่กลายมาเป็นตัวกำหนดวิธีคิด และพฤติกรรมของมนุษย์  ซึ่งเป็นสาเหตุของความต้องการอย่างไม่มีที่สิ้นสุดของมนุษย์  ซึ่งมนุษย์มีความเชื่อใหม่ๆว่า  การได้บริโภควัตถุ เป็นความสุขที่พึงปรารถนาที่สุดและเป็นเป้าหมายของชีวิตมนุษย์   ค่านิยมนี้จึงทำให้มนุษย์ขึ้นต่อหรือตกเป็นทาสวัตถุ ต้องดิ้นรนขวนขวายเพื่อสิ่งเหล่านี้  ซึ่งยากที่จะมีจุดสิ้นสุดหรือพอเพียง เพราะความต้องการของมนุษย์ ( ความโลภ ) นั้นไม่มีที่สิ้นสุดและตราบเท่าที่มนุษย์ยังเชื่อและพึ่งพิงความสุขจากวัตถุ ภายนอก   ทุกวันนี้ มีคนจำนวนมากอยู่ในฐานะยากจน บางคนร่ำรวยมาก บางคนก็พอมีพอกิน คนยากจนก็ดิ้นรน หาเช้ากินค่ำ เพื่อให้พอมีพอกินไม่อดตาย คนที่พออยู่ได้แล้วก็พยายามดิ้นรนหาทางเพื่อให้มีฐานะอยู่ดีกินดี คนที่มีฐานะดีก็ดิ้นรนเพื่อ ให้มั่งมีศรีสุข ความอยากได้ของมนุษย์เมื่อมีมาก ๆ ก็ทำให้เกิดโทษ เพราะการได้มาซึ่งฐานะ (เงินทอง)  อาจหมายถึง การทำลายทรัพยากรธรรมชาติ
      การใช้ชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบันที่มีความสุขสบาย จากการพัฒนาเครื่องมือเครื่องใช้ในการอำนวยความสะดวกมากมาย ซึ่งเป็นการใช้ทรัพยากรมากมายเพื่อตอบสนองอำนวยความสะดวกของตัวเอง โดยไม่มีใครคิดว่า เบื้องหลังของความสะดวกสบายของเรานั้น ได้เกิดปัญหาและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมายมาก ทั้งในส่วนของการใช้ทรัพยากรจำนวนมาก การตัดไม้ทำลายป่า เกิดผลกระทบความแห้งแล้ง ปัญหามลพิษทาง อากาศ น้ำ และดิน ทำให้พืชและสัตว์ในธรรมชาติล้มตาย ไปเป็นจำนวนมาก ควรที่เราจะต้องกลับมาทบทวนหรือยังถึงการใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือย
         ธนาคารที่มีแต่คนที่มาทำการถอนเงินออกไป โดยไม่มีใครทำการฝากเงินกลับเข้าไปในธนาคารเลย ซึ่งหากธนาคารใดเกิดปัญหาในลักษณะนี้มักจะเกิดปัญหาการล้มละลายได้  และโลก ของเราเปรียบเสมือนธนาคารที่มีทรัพยากรมากมายแต่ก็ประสบปัญหาที่มนุษย์ต่าง มุ่งที่จะนำทรัพยากรธรรมชาติไปใช้ประโยชน์อย่างต่อเนื่อง  โดยไม่มีใครคิดทำสิ่งใดเพื่อช่วยโลกในการสะสมทรัพยากรกลับคืนสู่โลกเลย ดังนั้นในอนาคตเป็นไปได้ว่าโลกเราอาจคล้ายธนาคารที่จะต้องล้มละลาย หรือ ประสบปัญหาไม่มีทรัพยากรธรรมชาติให้มนุษย์นำมาใช้ได้อีก ต่อไป

credit : http://www.learners.in.th/blog/aidear/321731

วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมสิ่งแวดล้อม : รักษาความสะอาดให้เบญจมฯ!!


เนื่องจากวันที่ 3-5 สิงหาคม พ.ศ. 2554  โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี ได้จัดกิจกรรมกีฬาภายใน (กีฬาสี)ครั้งที่ 50 ขึ้น ซึ่งทำให้เกิดปัญหาใหญ่ตามมาในแต่ละวันคือ ขยะในโรงเรียนเยอะมาก!! ทางทีมงาน GLOBAL GREEN (^^) จึงได้ร่วมมือกันเก็บขยะภายในโรงเรียนในวันที่ 5 สิงหาคม เพื่อเป็นการรักษาความสะอาดของโรงเรียน และ ให้คนอื่นๆตระหนักเห็นถึงการรักษาความสะอาดภายในโรงเรียน :))


ขอความร่วมมือรักษาคความสะอาด :)
น้องค้ะ...อย่าลืมนำไปทิ้งที่ถังขยะนะค้ะ
ใต้ต้นไม้ยังมีขยะเลย = =
เยอะแยะ = ="

วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

มหันตภัย 'ไฟป่า'

ไฟป่า คือไฟที่เกิดขึ้นจากสาเหตุอันใดก็ตามแล้วลุกลามไปได้โดยอิสระปราศจากการควบคุม ทั้งนี้ไม่ว่าไฟนั้นจะลุกลามเข้าป่าธรรมชาติหรือสวนป่า

องค์ประกอบของไฟ(สามเหลี่ยมไฟ)
ไฟเป็นผลลัพธ์ที่เกิดจากขบวนการทางเคมี เมื่อมีองค์ประกอบทั้ง 3 ประการมารวมตัวกันในสัดส่วนที่เหมาะสมและเกิดการสันดาปให้เกิดไฟขึ้น คือ
1. เชื้อเพลิงได้แก่ อินทรีย์สารทุกชนิดที่ติดไฟได้ เช่น ต้นไม้ ไม้พุ่ม กิ่งไม้ ก้านไม้ ตอไม้ กอไผ่ รวมไปถึงดินอินทรีย์ และชั้นถ่านหินที่อยู่ใต้ผิวดิน
2. ความร้อน ซึ่งจะมาจาก 2 แหล่ง คือแหล่งความร้อนตามธรรมชาติ เช่น ฟ้าผ่า การเสียดสีของกิ่งไม้และแหล่งความร้อนจากการกระทำของมนุษย์ เช่น การจุดไฟในป่าด้วยสาเหตุต่างๆ
3. ออกซิเจน เป็นก๊าซที่มีโดยทั่วไปในป่า ซึ่งจะมีการแปรผันตามทิศทางของลม
ชนิดของไฟป่า
ไฟป่า แบ่งเป็น 3 ชนิดซึ่งตามลักษณะของเชื้อเพลิงที่ถูกเผาไหม้ ได้แก่
1. ไฟใต้ดิน เป็นไฟที่ไหม้อินทรีย์ วัตถุที่สะสมอยู่ในดิน โดยลุกลามไปช้าๆใต้ผิวดินซึ่งยากที่จะสังเกตเห็นได้ เนื่องจากเปลวไฟหรือแสงสว่างไม่โผล่พ้นขึ้นมาบนดินเลย ทั้งควันก็มีน้อยยากต่อการดำเนินการดับไฟ ในประเทศไทยพบไฟใต้ดินในป่าพรุแถบภาคใต้ของประเทศ ซึ่งไฟใต้ดินยังสามารถแบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ
- ไฟใต้ดินสมบูรณ์แบบ คือไฟที่ไหม้อยู่ใต้ผิดพื้นป่าจริงๆ ต้องใช้เครื่องมือพิเศษในการตรวจจับความร้อนจึงจะพบไฟชนิดนี้
- ไฟกึ่งผิวดินกึ่งใต้ดิน ได้แก่ไฟที่ไหม้ไปในแนวระนาบตามพื้นป่าเช่นเดียวกับไฟผิวดิน ขณะเดียวกันส่วนหนึ่งก็ไหม้ในแนวดิ่งลึกลงไปในชั้นใต้ผิวพื้นป่า
2. ไฟผิวดินเป็นไฟที่เผาไหม้เชื้อเพลิงบนผิวดิน ไฟชนิดนี้จะเผาไหม้ลุกลามไปตามผืนป่าซึ่งเชื้อเพลิงส่วนใหญ่ได้แก่ หญ้า ใบไม้แห้ง กิ่งไม้ที่ร่วงหล่น ลูกไม้ รวมทั้งไม้พุ่มต่างๆ ไฟชนิดนี้มีการลุกลามอย่างรวดเร็วซึ่งความรุนแรงจะขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของเชื้อเพลิง ไฟป่าที่เกิดขึ้นในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นไฟชนิดนี้
3. ไฟเรือนยอด เป็นไฟทีลุกลามไปตามเรือนยอดของต้นไม้ โดยเฉพาะในป่าสน ซึ่งไม้ชนิดนี้มียางซึ่งช่วยให้เกิดการลุกลามได้ดี โดยมี 2 ลักษณะคือลักษณะที่อาศัยไฟผิวดินเป็นสื่อ ในการลุกไหม้ก่อนไหม้ลุกลามไปตามเรือนยอด และไปสู่เรือนยอดต้นอื่นต่อไป และที่ไม่อาศัยไฟผิวดินเป็นสื่อ เกิดในป่าที่มีเรือนยอดแน่นทึบติดกันและมีไม้ยืนต้นชนิดที่ติดไฟได้ง่าย ซึ่งรุนแรงและยากต่อการควบคุม เราสามารถแบ่งไฟเรือนยอดออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้
3.1 ไฟเรือนยอดที่ต้องอาศัยไฟผิวดินเป็นสื่อ คือไฟที่ต้องอาศัยไฟที่ลุกลามไฟตามผิวดินเป็นตัวนำเปลวไฟขึ้นไฟสู่เรือนยอดของต้นไม้ ลักษณะของไฟชนิดนี้จะเห็นไฟผิวดินลุกลามไปก่อนแล้วตามด้วยไฟเรือนยอด
3.2 ไฟเรือนยอดที่ไม่ต้องอาศัยไฟผิวดิน เกิดในผ่าที่มีต้นไม้ที่ติดไฟได้ง่ายและมีเรือนยอดแน่นทึบต่อติดกัน การลุกลามจะเป็นไปอย่างรวดเร็วและรุนแรงจากเรือนยอดหนึ่งไปสู่อีกเรือนยอดหนึ่งและเมื่อลูกไฟตกลงบนพื้นป่า ก็จะทำให้เกิดไฟผิวดินไฟพร้อมๆ กันด้วย
สาเหตุของการเกิดไฟป่า 
    ไฟป่าจะเกิดขึ้นได้หรือไม่ต้องอาศัยปัจจัย 3 สิ่งคือ เชื้อเพลิง ออกซิเจน และความร้อน ซึ่งเป็น"องค์ประกอบของไฟ" โดยปกตินั้นในป่ามีทั้งเชื้อเพลิงเช่น กิ่งไม้ใบไม้แห้งต่างๆและออกซิเจนหรืออากาศอยู่แล้ว หากมีความร้อนขึ้นย่อมทำให้เกิดไฟป่าขึ้น ฉะนั้น"ความร้อน"จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดไฟป่าขึ้น
ต้นเหตุที่ทำให้เกิดความร้อนขึ้นจนกระทั่งกลายเป็นไฟป่าอาจเกิดจากธรรมชาติเอง เช่น ต้นไม้เสียดสีกัน ฟ้าผ่าเป็นต้น หรือจากคนที่จุดไฟขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ต่างๆ ในประเทศไทยไม่พบไฟป่าที่เกิดโดยความร้อนตามธรรมชาติ ส่วนใหญ่เกิดจากฝีมือของคนทั้งสิ้น มนุษย์จึงเป็นต้นเหตุของไฟป่า ที่สำคัญยิ่ง
"สาเหตุ" ที่ทำให้เกิดไฟป่าโดยฝีมือของมนุษย์ทั้งตั้งใจหรือโดยประมาทในประเทศไทยแบ่งตามลักษณะของกิจกรรมและวัตถุประสงค์ที่เกิดขึ้นดังนี้
  • -ล่าสัตว์- จุดไฟเพื่อให้สัตว์หนีออกจากที่ซ่อน เพื่อสะดวกในการล่า
    -เผาไร่- เผากำจัดวัชพืช เตรียมพื้นที่เพาะปลูกโดยปราศจากการควบคุมทำให้ไฟลุกลามเข้าไปในป่า
    -หาของป่า- ตีผึ้ง เก็บไข่มดแดง ผักหวาน หน่อไม้ เห็ด ใบตองตึง เก็บฟืน
    -เลี้ยงสัตว์- เพื่อให้หญ้าแตกใบอ่อนเป็นอาหารสัตว์ในบริเวณใกล้พื้นที่ป่าแล้วเกิดลุกลามเข้าไปในป่า
    -นักท่องเที่ยว- หุงต้มอาหาร ให้แสงสว่าง ให้ความอบอุ่น แล้วดับไม่สนิทเกิดเป็นไฟป่าในที่สุด
    -ความขัดแย้ง- ชาวบ้านอาจเกิดความขัดแย้งกับหน่วยราชการในพื้นที่แล้วแกล้งโดยจุดไฟเผาป่า
    -ลักลอบทำไม้- เผาทางให้โล่งเตียนเพื่อสะดวกในการลากไม้ ไล่ยุง หุงต้มอาหารในป่า เป็นต้น

ผลกระทบจากไฟป่า 
ผลกระทบจากไฟป่าต่อสังคมพืช
- ขาดช่วงการสืบพันธุ์ทดแทนตามธรรมชาติ
- เปลี่ยนแปลงโครงสร้างป่า
- ลดการเจริญเติบโตและคุณภาพของเนื้อไม้
ทันทีที่เกิด"ไฟป่า"ขึ้นความร้อนและเปลวไฟจากไฟป่า จะทำลายลูกไม้ กล้าไม้เล็กๆในป่า หมดโอกาสเติบโตเป็นไม้ใหญ่ ส่วนต้นไม้ใหญ่หยุดการเจริญเติบโต เนื้อไม้เสื่อมคุณภาพลง เป็นแผลเกิดเชื้อโรคและแมลงเข้ากัดทำลายเนื้อไม้ สภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์เปลี่ยนสภาพเป็นทุ่งหญ้าไปในที่สุด

ผลกระทบจากไฟป่าต่อสัตว์ป่าและสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ในป่า
- ทำอันตรายต่อชีวิตของสัตว์ป่า
- ทำลายแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า
- ทำอันครายต่อชีวิตของสัตว์เล็กๆ และจุลินทรีย์ในดิน
"ไฟป่า" ส่งผลให้สัตว์ป่าได้รับบาดเจ็บ ล้มตาย เพราะหนีไฟไม่ทันโดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกอ่อนและสัตว์ที่เคลื่อนไหวช้า ที่หนีรอดก็ขาดที่อยู่อาศัยรวมไปถึงแหล่งอาหาร ในที่สุดก็อาจต้องตายเช่นเดียวกัน

- การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เนื่องจากอุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้น
- การเกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก
หมอกควันที่เกิดจาก"ไฟป่า" ก่อให้เกิดผลกระทบมากมายทั้งสภาวะอากาศเป็นพิษทำลายสุขภาพของคน เกิดทัศนวิสัยไม่ดีต่อการบินเครื่องบินบางครั้งไม่สามารถขึ้นบินหรือลงจอดได้ส่งผลให้เกิดผลเสียหายทางเศรษฐกิจ รวมไปถึงสูญเสียสภาพความสวยงามตามธรรมชาติ ทำให้สภาพไม่เหมาะในการท่องเที่ยวอีกต่อไป

ผลกระทบจากไฟป่าต่อดินป่าไม้
- เกิดการสูญเสียหน้าดินโดยการกัดชะและการพังทลาย
- เปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของดิน
Y คุณสมบัติทางกายภาพ
Y คุณสมบัติทางเคมี
"ไฟป่า" เผาทำลายสิ่งปกคลุมดิน หน้าดินจึงเปิดโล่ง เมื่อฝนตกลงมาเม็ดฝนก็จะตกกระแทกกับหน้าดินโดยตรง เกิดการชะล้างพังทลายของดินได้ง่าย ทำให้น้ำที่ไหลบ่าไปตามหน้าดิน พัดพาหน้าดินอันอุดมสมบูรณ์ไปด้วย และดินอัดตัวแน่นทึบขึ้นการซึมน้ำไม่ดี ทำให้การอุ้มน้ำหรือดูดซับความชื้นของดินลดลงไม่สามารถเก็บกักน้ำและธาตุอาหารที่จำเป็นต่อพืชได้

ผลกระทบจากไฟป่าต่อน้ำ
- สมดุลของน้ำเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดอุทกภัยและภัยแล้ง
- เปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของน้ำ
น้ำที่เต็มไปด้วยตะกอนและขี้เถ้าจากผลของ"ไฟป่า"จะไหลสู่ลำห้วยลำธาร ทำให้ลำห้วยขุ่นข้นมีสภาพไม่เหมาะต่อการใช้อีกต่อไป เมื่อดินตะกอนไปถับถมในแม่น้ำมากขึ้น ลำน้ำก็จะตื้นเขิน จุน้ำได้น้อยลง เมื่อฝนตกลงมาน้ำก็จะเอ่อล้นท่วมสองฝั่งเกิดเป็นอุทกภัย ที่สร้างความเสียหายในด้านการเกษตรการเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์ และสร้างความเสียหายเมื่อน้ำทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนทำให้ทรัพย์สินได้รับความเสียหาย
หน้าแล้งพื้นดินที่มีแต่กรวดทรายและชั้นดินแน่นทึบจากผลของ"ไฟป่า" ไม่สามารถเก็บกักน้ำในช่วงฤดูฝนเอาไว้ได้ ทำให้ลำน้ำแห้งขอดเกิดสภาวะแห้งแล้งขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภคและเพื่อการเกษตร

ผลกระทบจากไฟป่าต่อการนันทนาการ
    ผลกระทบต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากไฟป่านั้น มีส่วนในการทำลายธรรมชาติ ซึ่งเป็นสถานที่ และแหล่งท่องเที่ยวอันเป็นรายได้สำคัญของประเทศ รวมทั้งจะทำให้ขาดแหล่งพักผ่อนหย่อนใจตามธรรมชาติ
ผลกระทบจากไฟป่าต่อทรัพย์สิน สุขภาพ และชีวิตของมนุษย์
ในพื้นที่ที่เกิดไฟป่า ส่วนใหญ่จะทำความเสียหายให้กับบ้านเรือนของราษฎรที่อาศัยอยู่บริเวณชายป่า ทั้งบ้านเรือนที่ถูกไฟไหม้ พืชผลทางการเกษตร หรือแม้แต่ชีวิต
หมอกควันที่เกิดจากไฟป่า มีผลกระทบโดยตรงที่จะสร้างความเสียหายให้กับการเดินอากาศ รวมทั้งมีผลทำให้ประชาชนในบริเวณดับกล่าวจำนวนมาก ป่วยเป็นโรคระบบทางเดินหายใจ
แนวคิดเกี่ยวกับไฟป่า 
    ชาวบ้าน ขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องไฟป่า ความประมาทรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ขาดความรู้สึกหวงแหนป่า ทำให้ไม่ได้ร่วมมือกันป้องกันไฟป่าอย่างจริงจังและสาเหตุใหญ่คือคนที่ขาดจิตสำนึกบางคนเผาป่าโดยเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวเป็นสำคัญ
เจ้าหน้าที่ จัดการป่าไม้ได้ไม่ทั่วถึงมีวัชพืชที่เป็นเชื้อเพลิงมากในหน้าแล้ง การป้องกันและควบคุมไฟป่าปฏิบัติครอบคลุมไม่ได้ทั่วถึง ขาดงบประมาณและเจ้าหน้าที่อีกจำนวนมาก รวมทั้งยังไม่ได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านเท่าที่ควรด้วย