ผลลบที่เกิดจากภาวะ “โลกร้อน” โดยเฉพาะที่มาในรูปแบบ “โรคร้าย” นับวันจะยิ่งเป็นภัยคุกคามผู้คนทั่วโลก รวมถึงคนไทยเราด้วย ซึ่งนอกจากจะต้องช่วยกันหยุดทำลายสิ่งแวดล้อม ช่วยกันฟื้นฟูสภาพแวดล้อมแล้ว การรู้เท่าทัน-ป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น-รุนแรงขึ้นเพราะภาวะโลกร้อน ก็เป็นสิ่งที่สำคัญ
“โรคร้าย” ที่เกี่ยวกับ “โลกร้อน” น่ากลัว !!
และ “พาหะนำโรค” ก็อยู่ใกล้ ๆ ตัวคนไทย...
ทั้งนี้ ในการบรรยายหัวข้อ “จากโรคร้อนสู่โรคร้าย ภัยรุมล้อมประเทศไทย” ที่จัดไปเมื่อเร็ว ๆ นี้ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา นัก วิชาการศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลกด้านค้นคว้าและอบรมโรค ติดเชื้อไวรัสสัตว์สู่คน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า... ในปี ค.ศ. 2009 นี้โลกเผชิญกับการระบาดของ ไข้หวัดใหญ่ 2009 ซึ่งในปีหน้า ปี ค.ศ. 2010 อาจจะมีการระบาดใหญ่ระลอกสองที่รุนแรงยิ่งขึ้นได้ เมื่อดูจากประวัติศาสตร์ที่เคยมีการระบาดระลอกสองของ ไข้หวัดเอเชีย ไข้หวัดสเปน ไข้หวัดฮ่องกง ซึ่งรุนแรงยิ่งขึ้น
หากมีการระบาดของไข้หวัดใหญ่ 2009 อีกระลอก คนที่เคยป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ 2009 แล้ว ก็อาจจะมีโอกาสเป็นซ้ำได้อีก ดังที่มีการรายงานในสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2552 ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นแพทย์ติดเชื้อครั้งแรกในเดือน ส.ค. พอเดือน ต.ค. ก็ติดเชื้ออีกเป็นครั้งที่สอง และแม้แต่คนที่เคยรับวัคซีนไข้หวัด 2009 แล้ว ก็ไม่ได้เป็นการประกันว่าจะไม่มีสิทธิที่จะติดเชื้อ ดังนั้นทุกคนจึงไม่ควรนิ่งนอนใจว่าเคยเป็นแล้วจะไม่เป็นอีก
ศ.นพ.ธีระวัฒน์บอกอีกว่า... การแพร่กระจายของไข้หวัด 2009 เป็นการแพร่เชื้อจากสัตว์สู่คน คือ จาก หมู แล้วแพร่ต่อจากคนสู่คน และอาจจะแพร่กระจายจากคนสู่สัตว์ อาทิ หมู หมา แมว เป็นต้น ซึ่งในหมูนั้นน่ากลัว เพราะถ้ามีการแพร่จากหมูมาสู่คนอีกรอบ ด้วยเหตุที่หมูเป็นสัตว์ที่รับไวรัสหลายประเภท อาจจะมีการผสมกับเชื้อโรคชนิดอื่นที่มีอยู่ก่อนหน้า เมื่อกลับมาแพร่สู่คนอีกก็จะน่ากลัวมากขึ้น ยาทามิฟลูต้านไวรัสจะเอาไม่อยู่ เพราะเชื้อดื้อยา
“ช่วงที่ผ่านมา ภัยธรรมชาติ น้ำท่วม น้ำขัง อากาศแปรปรวน เกิดมากขึ้นเป็นทวีคูณ และมีการขยายการอพยพของสัตว์เข้าหาที่ปลอดภัยกว่า รวมถึงสัตว์ฟันแทะ อาทิ หนู และค้างคาว สัตว์เหล่านี้เป็นพาหะที่ดีของไวรัสต่าง ๆ โดยแพร่เชื้อกันเอง หรือแพร่สู่สัตว์อื่นหรือคน หรือแพร่ผ่านยุง ไร ริ้น เห็บ”
เมื่อสถานการณ์เป็นเช่นนี้ ปี ค.ศ. 2010 จึงเป็นปีที่ต้องจับตามอง “ไวรัสอุบัติใหม่” ที่ก่อให้เกิด “โรคสมองอักเสบ” ซึ่งที่ผ่านมาโรคระบาดในวงกว้างจากไวรัส ก็อาทิ โรคสมองอักเสบ จาก ไวรัสชานดิ ปุระ ที่นำโรคโดย ริ้นฝอยทราย มีตัวซ่องสุมโรคใน วัว ควาย ซึ่งระบาดในอินเดียหลายระลอก ปี ค.ศ. 2003 มีคนตาย 183 ราย จากผู้ป่วย 329 ราย และช่วงปี ค.ศ. 2005-2006 มีคนตาย 49 ราย จากผู้ป่วย 90 ราย หลังจากนั้นก็ระบาดประปรายอยู่เรื่อย ๆ
ทั้งนี้ โรคสมองอักเสบจากไวรัสชานดิปุระ เคยมีการปะทะกับโรคสมองอักเสบจากค้างคาว และระบาดต่อเนื่องจากมาเลเซีย สิงคโปร์ อินเดีย บังกลาเทศ โดยตั้งแต่ปี ค.ศ. 1998 จนปัจจุบันมีผู้ป่วยเป็นโรคสมองอักเสบทั้งที่มีอาการปอดบวมร่วมและไม่มี จำนวน 475 ราย เสียชีวิต 247 ราย โดยการแพร่ระบาดเกิดได้ จากค้างคาวสู่หมู และหมู สู่คน หรือจากค้างคาวสู่คน และแพร่จากคนสู่คนโดยการไอจามรดกัน ติดทางฝอยน้ำลาย เสมหะ หรือแม้แต่การหายใจ
“นอกจากนี้ ยังต้องระวังโรคไข้เลือดออกแบบที่มีแต่อาการสมองอักเสบ โดยไม่มีอาการของไข้เลือดออก ซึ่งพบผู้ป่วยลักษณะเช่นนี้แล้วในปีนี้” ...ศ.นพ.ธีระวัฒน์ระบุในการบรรยายจากโรคร้อนสู่ โรคร้าย
ขณะที่ ดร.สุภาภรณ์ วัชรพฤกษาดี นักวิจัยศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลกอีกคน ก็บอกว่า... จากภาวะโลกร้อน การแพร่กระจายของ ไวรัสนิปาห์ ในค้างคาว ก็มีความเสี่ยงมากขึ้น ปีหน้าต้องระวังมากขึ้น เพราะอากาศที่เปลี่ยนแปลงกับไวรัสนิปาห์ในค้างคาวมีความสัมพันธ์กัน และมีการติดต่อของไวรัสจากค้างคาวสู่หมู จากหมูสู่คน ซึ่งอาการสมองอักเสบในหมูทำให้หมูตาย และ “ทำให้คนตายได้” โดยในประเทศไทยแม้จะยังไม่เคยมีรายงานผู้เสียชีวิต และการระวังป้องกันของภาครัฐค่อนข้างดี แต่ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ โดยเฉพาะช่วงอากาศร้อน
ด้าน ผศ.ดร.จิรพล สินธุนาวา คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า... โลกได้เข้าสู่ “ปรากฏการณ์เอล นินโญ่” เรียบร้อยแล้ว จาก “ภาวะโลกร้อน” อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้น เกิดภาวะแห้งแล้ง ขาดแคลนน้ำและอาหาร รวมทั้งมีการปนเปื้อนและเป็นที่มาของโรคทางเดินอาหารเพิ่มมากขึ้น โดยในทะเล สาหร่าย ชนิดที่สร้างสารพิษจะเติบโตอย่างรวดเร็ว เมื่อปลากินสาหร่ายนี้ก็จะสะสมสารพิษและถ่ายทอดในห่วงโซ่อาหารมากขึ้นตามลำดับ ซึ่งเมื่อมนุษย์บริโภคปลาที่สะสมสารพิษ ก็จะทำให้ป่วย ตั้งแต่ระดับไม่มาก จนถึงขั้นโคม่า
“โลกร้อนนำมาสู่การเปลี่ยนแปลง จึงควรต้องระมัดระวังกันให้มากกับการบริโภคอาหารทะเลในยามที่โลกเข้าสู่ภาวะโลกร้อนด้วย” ...นักวิชาการคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุ
“โรคร้าย” ขยายตัวคุกคามมนุษย์เพราะ “โลกร้อน”
จากนี้ไปโรคร้าย ๆ จาก “ไวรัสอุบัติใหม่” ยิ่งน่ากลัว
อย่าประมาท-หยุดทำร้ายโลก...ก่อนจะสายเกินแก้ !!.
อ้างอิงจากเว็บ sanook
“โรคร้าย” ที่เกี่ยวกับ “โลกร้อน” น่ากลัว !!
และ “พาหะนำโรค” ก็อยู่ใกล้ ๆ ตัวคนไทย...
ทั้งนี้ ในการบรรยายหัวข้อ “จากโรคร้อนสู่โรคร้าย ภัยรุมล้อมประเทศไทย” ที่จัดไปเมื่อเร็ว ๆ นี้ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา นัก วิชาการศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลกด้านค้นคว้าและอบรมโรค ติดเชื้อไวรัสสัตว์สู่คน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า... ในปี ค.ศ. 2009 นี้โลกเผชิญกับการระบาดของ ไข้หวัดใหญ่ 2009 ซึ่งในปีหน้า ปี ค.ศ. 2010 อาจจะมีการระบาดใหญ่ระลอกสองที่รุนแรงยิ่งขึ้นได้ เมื่อดูจากประวัติศาสตร์ที่เคยมีการระบาดระลอกสองของ ไข้หวัดเอเชีย ไข้หวัดสเปน ไข้หวัดฮ่องกง ซึ่งรุนแรงยิ่งขึ้น
หากมีการระบาดของไข้หวัดใหญ่ 2009 อีกระลอก คนที่เคยป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ 2009 แล้ว ก็อาจจะมีโอกาสเป็นซ้ำได้อีก ดังที่มีการรายงานในสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2552 ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นแพทย์ติดเชื้อครั้งแรกในเดือน ส.ค. พอเดือน ต.ค. ก็ติดเชื้ออีกเป็นครั้งที่สอง และแม้แต่คนที่เคยรับวัคซีนไข้หวัด 2009 แล้ว ก็ไม่ได้เป็นการประกันว่าจะไม่มีสิทธิที่จะติดเชื้อ ดังนั้นทุกคนจึงไม่ควรนิ่งนอนใจว่าเคยเป็นแล้วจะไม่เป็นอีก
ศ.นพ.ธีระวัฒน์บอกอีกว่า... การแพร่กระจายของไข้หวัด 2009 เป็นการแพร่เชื้อจากสัตว์สู่คน คือ จาก หมู แล้วแพร่ต่อจากคนสู่คน และอาจจะแพร่กระจายจากคนสู่สัตว์ อาทิ หมู หมา แมว เป็นต้น ซึ่งในหมูนั้นน่ากลัว เพราะถ้ามีการแพร่จากหมูมาสู่คนอีกรอบ ด้วยเหตุที่หมูเป็นสัตว์ที่รับไวรัสหลายประเภท อาจจะมีการผสมกับเชื้อโรคชนิดอื่นที่มีอยู่ก่อนหน้า เมื่อกลับมาแพร่สู่คนอีกก็จะน่ากลัวมากขึ้น ยาทามิฟลูต้านไวรัสจะเอาไม่อยู่ เพราะเชื้อดื้อยา
“ช่วงที่ผ่านมา ภัยธรรมชาติ น้ำท่วม น้ำขัง อากาศแปรปรวน เกิดมากขึ้นเป็นทวีคูณ และมีการขยายการอพยพของสัตว์เข้าหาที่ปลอดภัยกว่า รวมถึงสัตว์ฟันแทะ อาทิ หนู และค้างคาว สัตว์เหล่านี้เป็นพาหะที่ดีของไวรัสต่าง ๆ โดยแพร่เชื้อกันเอง หรือแพร่สู่สัตว์อื่นหรือคน หรือแพร่ผ่านยุง ไร ริ้น เห็บ”
เมื่อสถานการณ์เป็นเช่นนี้ ปี ค.ศ. 2010 จึงเป็นปีที่ต้องจับตามอง “ไวรัสอุบัติใหม่” ที่ก่อให้เกิด “โรคสมองอักเสบ” ซึ่งที่ผ่านมาโรคระบาดในวงกว้างจากไวรัส ก็อาทิ โรคสมองอักเสบ จาก ไวรัสชานดิ ปุระ ที่นำโรคโดย ริ้นฝอยทราย มีตัวซ่องสุมโรคใน วัว ควาย ซึ่งระบาดในอินเดียหลายระลอก ปี ค.ศ. 2003 มีคนตาย 183 ราย จากผู้ป่วย 329 ราย และช่วงปี ค.ศ. 2005-2006 มีคนตาย 49 ราย จากผู้ป่วย 90 ราย หลังจากนั้นก็ระบาดประปรายอยู่เรื่อย ๆ
ทั้งนี้ โรคสมองอักเสบจากไวรัสชานดิปุระ เคยมีการปะทะกับโรคสมองอักเสบจากค้างคาว และระบาดต่อเนื่องจากมาเลเซีย สิงคโปร์ อินเดีย บังกลาเทศ โดยตั้งแต่ปี ค.ศ. 1998 จนปัจจุบันมีผู้ป่วยเป็นโรคสมองอักเสบทั้งที่มีอาการปอดบวมร่วมและไม่มี จำนวน 475 ราย เสียชีวิต 247 ราย โดยการแพร่ระบาดเกิดได้ จากค้างคาวสู่หมู และหมู สู่คน หรือจากค้างคาวสู่คน และแพร่จากคนสู่คนโดยการไอจามรดกัน ติดทางฝอยน้ำลาย เสมหะ หรือแม้แต่การหายใจ
“นอกจากนี้ ยังต้องระวังโรคไข้เลือดออกแบบที่มีแต่อาการสมองอักเสบ โดยไม่มีอาการของไข้เลือดออก ซึ่งพบผู้ป่วยลักษณะเช่นนี้แล้วในปีนี้” ...ศ.นพ.ธีระวัฒน์ระบุในการบรรยายจากโรคร้อนสู่ โรคร้าย
ขณะที่ ดร.สุภาภรณ์ วัชรพฤกษาดี นักวิจัยศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลกอีกคน ก็บอกว่า... จากภาวะโลกร้อน การแพร่กระจายของ ไวรัสนิปาห์ ในค้างคาว ก็มีความเสี่ยงมากขึ้น ปีหน้าต้องระวังมากขึ้น เพราะอากาศที่เปลี่ยนแปลงกับไวรัสนิปาห์ในค้างคาวมีความสัมพันธ์กัน และมีการติดต่อของไวรัสจากค้างคาวสู่หมู จากหมูสู่คน ซึ่งอาการสมองอักเสบในหมูทำให้หมูตาย และ “ทำให้คนตายได้” โดยในประเทศไทยแม้จะยังไม่เคยมีรายงานผู้เสียชีวิต และการระวังป้องกันของภาครัฐค่อนข้างดี แต่ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ โดยเฉพาะช่วงอากาศร้อน
ด้าน ผศ.ดร.จิรพล สินธุนาวา คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า... โลกได้เข้าสู่ “ปรากฏการณ์เอล นินโญ่” เรียบร้อยแล้ว จาก “ภาวะโลกร้อน” อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้น เกิดภาวะแห้งแล้ง ขาดแคลนน้ำและอาหาร รวมทั้งมีการปนเปื้อนและเป็นที่มาของโรคทางเดินอาหารเพิ่มมากขึ้น โดยในทะเล สาหร่าย ชนิดที่สร้างสารพิษจะเติบโตอย่างรวดเร็ว เมื่อปลากินสาหร่ายนี้ก็จะสะสมสารพิษและถ่ายทอดในห่วงโซ่อาหารมากขึ้นตามลำดับ ซึ่งเมื่อมนุษย์บริโภคปลาที่สะสมสารพิษ ก็จะทำให้ป่วย ตั้งแต่ระดับไม่มาก จนถึงขั้นโคม่า
“โลกร้อนนำมาสู่การเปลี่ยนแปลง จึงควรต้องระมัดระวังกันให้มากกับการบริโภคอาหารทะเลในยามที่โลกเข้าสู่ภาวะโลกร้อนด้วย” ...นักวิชาการคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุ
“โรคร้าย” ขยายตัวคุกคามมนุษย์เพราะ “โลกร้อน”
จากนี้ไปโรคร้าย ๆ จาก “ไวรัสอุบัติใหม่” ยิ่งน่ากลัว
อย่าประมาท-หยุดทำร้ายโลก...ก่อนจะสายเกินแก้ !!.
อ้างอิงจากเว็บ sanook
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น