คลังบทความของบล็อก

วันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2554

โลกร้อน และ แกนโลกเอียงเพิ่มจริงหรือ?

ก่อนหน้านี้เมื่อสัปดาห์ก่อน มีนักวิชาการชื่อดังที่ออกมาเตือนว่า  ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก เกิดจากแกนโลกเอียงมากกว่าปกติในช่วงฤดูหนาว โดยเฉพาะจะส่งผลให้ไทยมีอากาศร้อนสูงถึง 42 องศาในฤดูร้อนปีนี้ รวมทั้งจะเกิดคลื่นสตอร์มเซริ์จ ซึ่งนักวิชาการท่านนี้เคยออกมาทำให้คนไทยแตกตื่นหลายต่อหลายครั้ง

เรื่องนี้กลายเป็นภาระหนักที่ทำให้อาจารย์ทางด้านฟิสิกส์ ที่คณะวิทยาศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ต้องประชุมถึงข่าวคราวที่เกิดขึ้น และได้ข้อสรุปว่ามีความจำเป็นที่ต้องแถลงข้อเท็จจริงให้คนไทยและสังคมไทยรับทราบข้อมูล โดยอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงและใช้หลักวิทยาศาสตร์ มากกว่าการพูด

ช่วงบ่ายวันที่ 4 ก.พ.ที่คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ การเปิดประเด็นร้อนเรื่อง โลกเปลี่ยน : ฤดูเปลี่ยน :ภูมิอากาศเปลี่ยน ขึ้น โดย ผศ.พงษ์  ทรงพงษ์ ภาควิชาฟิสิกส์ จุฬาลงกรณ์  เปิดเผยว่า  ถือเป็นการให้ข้อมูลที่คลาด เคลื่อน และไม่ได้ใช้หลักฐานทางวิชาการมาอ้างอิง เนื่องจากนำไปโยงกับภาวะโลกร้อน จนทำให้สังคมไทยเกิดความตระหนกตกใจ  เนื่องจากแกนโลกหมุนเอียงที่ระดับบวกและลบ 23.5 -24 องศาเป็นภาวะปกติอยู่แล้ว มีการเปลี่ยนกลับไปกลับมาเป็นคาบระยะเวลา 41,000 ปี และเป็นแบบนี้มานานถึง 600,000 ปี  และจะมีการเอียงแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ ขณะที่การหมุนของโลกรอบดวงอาทิตย์ก็จะทำให้แต่ละซีกโลกมีฤดูกาลที่ตรงกันข้ามกัน เพราะซีกโลกทั้งสองจะผลักกันเอียงเข้าหาดวงอาทิตย์ เป็นวัฎจักรของการโคจร  

                 แกนโลก มีความสัมพันธ์ กับ การเกิดฤดูกาล และ ช่วงเวลาระหว่าง กลางวัน และกลางคืน ซึ่งเป็นไปตามกฎของธรรมชาติไม่มีใครเปลี่ยนแปลงได้ แม้อาจมีการเปลี่ยนแปลงบ้าง แต่ก็เป็นรอบเวลานับหมื่นปี ซึ่งจะส่งผลต่อการเปลี่ยแปลงภูมิอากาศได้ แต่จะช้ามากจนมนุษย์ไม่สังเกตเห็นได้

                ผศ.พงษ์ กล่าวว่า   แต่หากแกนโลกเอียงมากขึ้น จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสภาพภูมิอากาศทั่วโลก เพราะโลกไม่สามารถปรับเข้าสู่ยุคน้ำแข็ง หรือยุคอบอุ่นได้ตามวัฎจักร และขณะนี้เเราอยู่ในช่วงอบอุ่น แต่หากกพิจารณาเรื่องคาบเวลาคงช้ามากเพราะมีระยะเวลานับ 1 แสนปี อย่างไรก็ตาม องค์ความรู้เรื่องแกนโลกเอียงเป็นเนื้อหาที่สอนกันตั้งแต่สมัยเรียน ม.3 และผู้ที่เรียนจบ ม. 6 ก็น่าจะเข้าใจถึงประเด็นนี้จะได้ไม่ตื่นตระหนกแบบที่ผ่านมา

                นักวิชาการอีกท่าน คือ  ดร.สธน  วิจารณ์วรรณลักษณ์ ภาควิชาฟิสิกส์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า  ขณะนี้สังคมไทยกำลังอยู่ในอาการที่เรียกว่า  “Climate change Crazy”     เนื่องจากมีถูกส่งผ่าน และสื่อสารข้อมูลไม่ครบ และไม่ถูกต้อง แม้แต่การนำเอารายงานคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ไอพีซีซี) ที่ถือเป็นองค์การที่ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับโลกร้อนมานานถึง 20 ปีและมีหลักฐานอ้างอิง แต่กลับพบว่าข้อมูลโลกร้อนที่ส่งมาถึงคนไทย เนื้อหาส่วนใหญ่จะมุ่งนำเสนอผลกระทบเพียงด้านเดียวเท่านั้น และยังนำเอาไปใช้เป็นประเด็นทางการ เมือง การค้า และเศรษฐกิจ และการประชาสัมพันธ์มากกว่า 

เขามองว่า  ในมุมมองของฟิสิกส์มองว่าการที่โลกร้อนขึ้นในช่วงศตวรรษนี้ เป็นการปรับสมดุลตามธรรมชาติ  ส่วนมนุษย์ถ้าเปรียบคงเหมือนกับก้อนหินเล็กๆ ที่กำลังจะไปเคลื่อนภูเขา คือธรรมชาติที่ทำให้เกิดปรากฎการณ์ภาวะโลกร้อน แต่ไม่ได้ปฏิเสธว่าคนเป็นตัว การในการทำให้เร่งของภาวะโลกร้อน

นักวิชาการอีกท่านตบท้ายอย่างน่าคิดว่า   ตอนนี้เราจะอยู่กับผลกระทบ ปรับตัว หรือทนอยู่กับปรากฎการณ์?

ผศ.ดร.สมบัติ อยู่เมือง จากภาควิชาธรณีวิทยา บอกว่า ข้อมูลเรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกที่ถูกหยิบมานำเสนอ ที่ผ่านมานั้น เป็นการนำเสนอที่ไม่สมบูรณ์แบบ หรือนำมาแค่บางส่วนเท่านั้น ทำให้เกิดความเข้าใจผิด และความตื่นตระหนกกันเกินกว่าเหตุ และนำไปสู่การแสวงหาผลประโยชน์ต่างๆได้ เช่นข้อมูลเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ไอพีซีซี) ซึ่งทำงานเก็บข้อมูลเรื่องนี้มากว่า 20 ปี มีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้มากมายและละเอียดยิบ ปัญหาคือ คนที่ไปเอาข้อมูลของไอพีซีซีออกมาบอกกับคนอื่นนั้นบอกข้อมูลเพียงครึ่งเดียว หรือบอกไม่หมด 

อุณหภูมิโลกสูงขึ้นจริงแต่ไม่ได้สูงขึ้นทั้งหมด บางที่ที่สูงขึ้นนั้นก็ไม่ได้เลวร้ายอย่างที่เราเข้าใจ เพราะจากการเก็บข้อมูล และนำเสนอมาตลอด  20 ปีนั้นเขาได้บอกถึงผลกระทบ และแนะนำวิธีการปรับตัวและแก้ปัญหาไปในตัวด้วย ที่ปรับตัวและแก้ปัญหาได้เขาก็อยู่กันได้ตามปกติ ไม่ได้ตื่นตระหนกแบบเรา 

Credit : http://www.oknation.net/blog/print.php?id=392918 นะจร้าๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น