เกิดขึ้น
เนื้อหาโดยสรุป
มลพิษทางอากาศ เกิดจากแหล่งกำเนิดทางธรรมชาติ และที่มนุษย์สร้างขึ้นโดยเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ มลพิษทางอากาศมีหลายประเภท มีทั้งประเภทที่เป็นอันตราย และประเภททั่วไปซึ่งสิ่งเหล่านี้ ได้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชีวิตมนุษย์ดังนั้นเราทุกคนจึงควรทำความรู้จักกับ สิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้ ศึกษาข้อมูล ผลกระทบ และหาหนทางที่จะแก้ไขสิ่งที่เกิดขึ้นจากมลพิษทางอากาศ
คำจำกัดความ
มลพิษทางอากาศ(Air Pollution) หมายถึง สภาพอากาศที่มีสารเจือปน และถ้าสารเจือปนนี้สะสมอยู่ในอากาศ เป็นเวลานานๆ จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ สัตว์ และพืชผลต่างๆ รวมทั้งสิ่งแวดล้อมรอบๆสภาพอากาศ ที่มีสารเจือปนเหล่านั้น
แหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศ
1. แหล่งกำเนิดตามธรรมชาติ
1.1 ภูเขาไฟระเบิด การที่เกิดภูเขาไฟระเบิดจะมีเขม่าพ้นออกมาในบรรยากาศจำนวนมาก ซึ่งเขม่าเหล่านั้นก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้เกิดมลภาวะทางอากาศและเขม่าที่เกิดจากภูเขาไฟระเบิดจะสามารถอยู่ในอากาศได้นานนับปี
1.1 ภูเขาไฟระเบิด การที่เกิดภูเขาไฟระเบิดจะมีเขม่าพ้นออกมาในบรรยากาศจำนวนมาก ซึ่งเขม่าเหล่านั้นก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้เกิดมลภาวะทางอากาศและเขม่าที่เกิดจากภูเขาไฟระเบิดจะสามารถอยู่ในอากาศได้นานนับปี
1.2 ไฟป่า เมื่อเกิดไฟป่าแต่ละครั้งจะเกิดควันขึ้นมาจำนวนมหาศาล ซึ่งควันที่เกิดจากไฟป่านั้นก็เป็นส่วนที่ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ
1.3 จุลินทรีย์ พวกจุลินทรีย์จะมีการย่อยสลายสิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นซากพืชซากสัตว์ ซึ่งในการย่อยสลายจะทำให้เกิดก๊าชแอมโมเนีย (NH3) เป็นก๊าชที่ทำในเกิดกลิ่นเหม็น
1.4 อนุภาคมวลสาร อนุภาคสารจะเป็นอนุภาคขนาดเล็กซึ่งสามารถลอยไปตามอากาศซึ่งเป็นสาเหตุในเกิดโรคต่าง ๆ มากมาย
2. แหล่งกำเนิดที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์
2.1 การคมนาคม ปัจจุบันมีการข้นส่งสินค้า การเดินทางเป็นจำนวนมากโดยการใช้ยานพาหนะต่างโดยเฉพาะรถยนต์ซึ่งเป็นต้นเหตุสำคัญที่สุด โดยที่รถยนต์จะปล่อยกาศพวกคาร์บอน ไดออกไซด์ ก๊าชไนตริกออกไซด์และก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์รวมทั้งกาซคาร์บอนมอนนอกไซด์ซึ่งก๊าซเหล่านี้เป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ
2.3 การเผาไหม้ของเชื่อเพลิง การเผาไหม้เชื้อเพลิงเป็นสิ่งที่สำคัญในการใช้ชีวิตประจำวันที่เราใช้ในการดำเนินชีวิต แต่ในการเผาไหม้เหล่านั้นก็จะทำให้มีการปล่อยสารพวก ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ ไฮโดคาร์บอนและอนุภาคของมวลสารต่าง ๆ ซึ่งเป็นสารที่ทำในเกิดมลพิษทางอากาศ
2.4 การเผาขยะสิ่งปฏิกูล ปัจจุบันมีขยะเกิดขึ้นมากมายซึ่งก็นำมาซึ่งการทำลายและการทำลายวิธีหนึ่งก็คือการเผาใหม้ซึ่งการเผาใหม้จะมีการปล่อยสารพวก สารประกอบไฮโดรคาร์บอน ออกไซด์ของไนโตรเจน ออกไซด์ของกำมะถัน คาร์บอนมอนอกไซด์และคาร์บอนไดออกไซด์เป็นต้นซึ่งเป็นสาเหตุทำในเกิดมลพิษทางอากาศ
2.5 โรงงานอุตสาหกรรม ปัจจุบันโลกมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วและที่ตามมาพร้อมกันก็คือการเกิดโรงงานอุสาหกรรมขึ้นมาด้วยซึ่งโรงงานอุสาหกรรมเหล่านี้จะมีการใช้พลังงานและการเผาถ่านเชื่อเพลิงเป็นจำนวนมากซึ่งจะทำในเกิดการปล่อยสารจำพวก ฝุ่นละออง เขม่า ควัน ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ และก๊าซพิษอื่น ๆ อีกหลายชนิด ก๊าซเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุที่สำคัญในการก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ
ประเภทของมลพิษทางอากาศ
1. ประเภททั่วไป
• คาร์บอนไดออกไซด์ : เกิดจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงและสิ่งอื่นๆอย่างสมบูรณ์
• คาร์บอนมอนอกไซด์ : เกิดจาการเผาไหม้เช่นเดียวกับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ แต่เป็นการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ มักถูกปล่อยออกมาจากท่อไอเสียของรถยนต์เป็นส่วนใหญ่
• ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ : เป็นออกไซด์ของกำมะถันที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง ถ่านหินและน้ำมัน
• ออกไซด์ของไนโตรเจน : ซึ่งมักได้แก่ก๊าซไนตริคออกไซด์ และก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ เป็นผลจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงที่อุณหภูมิสูง
• ไฮโดรคาร์บอน : เกิดจากการระเหยของนํ้ามันเป็นส่วนใหญ่ เช่น ฟอร์มาดีไฮด์ อัลดีไฮด์ และคีโทนด์
• ละอองตะกั่ว : เป็นโลหะอ่อนสีเทาเงินอยู่ในรูปของสารประกอบอินทรีย์จำพวกเตตราเอทิลเลต
• หมอกควัน : เป็นกลุ่มของหยดน้ำแขวนลอยอยู่ในอากาศ
2. ประเภทสารอันตราย
• ไอระเหยอินทรีย์
• สารพวกHAPs : สารเหล่านี้มักถูกผสมอยู่ในพวกสี ตัวทำละลาย น้ำมัน ซึ่งมีแหล่งปล่อยออกมาจากยานยนต์ตามท้องถนน รวมทั้งเครื่องจักรกลด้วย
ผลกระทบที่เกิดจากมลพิษทางอากาศ
มลพิษทางอากาศนั้นได้ส่งผลกระทบหลายด้านดังสรุปในกราฟนั้นมีอยู่ด้วยกัน 4 ด้านคือ
1. ผลต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ :มนุษย์ได้รับผลทั้งทางตรงและทางอ้อมซึ่งล้วนแล้วแต่ไม่ใช้ผลดีต่อตัวมนุษย์เราทั้งสิ้น ผลกระทบโดยตรงคือการที่เราได้หายใจเอาสารพิษเข้าไปในร่างกายซึ่งจะส่งผลเสียต่อสุขภาพ ทำให้นำมาซึ่งโรคภัยไข้เจ็บต่างๆมากมาย เช่นส่งผลเสียต่อระบบหายใจและผิวหนัง ซึ่งเกิดการระคายเคืองเนื่องจากการทำปฏิกริยาของสารเคมีที่มีอยู่ในอากาศ ถ้ามนุษย์อยู่ใน สภาพแวดล้อมอย่างนี้ก็จะมีแต่ทำให้สุขภาพแย่ลอง
2. ผลต่อพืช : เนื่องจากสารเคมีที่มีอยู่ในธรรมชาติส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืช โครงสร้างของพืชเช่นเซลล์และระบบต่างๆถูกทำลาย และสารเคมีบางชนิดยังส่งผลให้การเจริญเติบโต ของพืชถูกทำลายไป
3. ผลต่อสัตว์ :สัตว์นับเป็นสิ่งมีชีวิตเปรียบได้เช่นเดียวกับคนการที่สารเคมีและมลพิษในอากาศมีมากส่งผลกระทบกับคนก็เหมือนกับมลพิษเหล่านั้นได้ส่งผลเสียต่อสัตว์ด้วย
4. ผลต่อวัตถุและทรัพย์สิน : วัตถุและทรัพย์สิน เช่นอาคารและตึกจะถูกทำลาย เกิดความสกปรกกับอาคารหรือสิ่งของ และการกัดกร่อนด้วยสารเคมีที่ทำปฏิกริยากัน เช่น ฝนกรดมีผลทำให้ตึก ต่างๆสูญเสียรูปทรง เพราะฝนกรดจะกัดกร่อนสิ่งต่างๆที่ที่เป็นปูน นอกจากนี้ฝุ่นและควันต่างๆทำให้สูญเสียการมองเห็น กล่าวคือลดระยะการมองเห็นนั่นเอง
นอกจากนี้กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมยังได้มีข้อมูลกล่าวมาว่าผลกระทบที่เกิดจากมลพิษทางอากาศก่อให้
1.เกิดภาวะการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลก(ภาวะโลกร้อน)
2.ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นและเกิดน้ำท่วมรุนแรงกว่าเดิม
3.ระบบนิเวศเปลี่ยนแปลง
การจัดการมลพิษทางอากาศ
การจัดการมลพิษทางอากาศมีหลายทางเช่น การควบคุมความสูงของปล่องระบายอากาศ เพื่อให้ความเข้มข้นของสารพิษในอากาศได้เจือจาง ก่อนตกลงสู่พื้นดิน การควบคุมคุณภาพอากาศเสียที่ระบายออกมา นั้นก็สามารถทำได้โดยการเลือกใช้อุปกรณที่สามารถกำจัดมลพิษได้ และควรใช้เชื้อเพลิงที่มีมลพิษต่ำ นอกจากนี้ การกำหนดมาตรฐานอากาศเสียของโรงงานอุตสาหกรรมก็เป็นอีกทางที่สามารถจัดการปัญหามลพิษได้นอกจากนี้แล้วการออกกฎหมายควบคุมโดยเฉพาะเรื่องควันดำ ก็เป็นอีกทางที่เป็นการป้องกัน การเกิดมลพิษทางอากาศด้วย
บทสรุป
ปัญหามลพิษทางอากาศปัจจุบันนี้ไม่ใช้เรื่องไกลตัวเราอีกต่อไปแล้วเราทุกคนควรร่วมมือกันเพื่อที่จะหาทางแก้ไขปัญหาเหล่านี้ เพราะคงไม่มีใครอยากให้ตัวเราหรือโลกของเราได้รับผลกระทบที่ร้ายแรงไปมากกว่านี้ จากการสำรวจประชากรในประเทศ พบว่า ร้อยละ3.4 เห็นว่าปัญหามลพิษทางอากาศเป็นปัญหาที่สำคัญที่สุดของประเทศ ฉะนั้นปัญหามลพิษทางอากาศจึงเป็นปัญหาที่เราทุกคนต้องช่วยกันแก้ไขกันอย่างเร่งด่วน เพราะปัญหานี้นับวันยิ่งส่งผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมมากขึ้นอย่างไม่มีทีท่าว่าจะลดน้อยลงเลย สิ่งแวดล้มที่ไร้มลภาวะทางอากาศเป็นสิ่งสำคัญที่คนทุกคนต้องร่วมกันตระหนักถึง เพราะนอกจากส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตแล้วยังส่งผลในระดับโลก เช่น ภาวะโลกร้อนอีกด้วย อย่าให้ปัญหาเล็กๆต้องกลายเป็นปัญหาใหญ่ เราควรร่วมมือ ร่วมใจกันป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศตั้งแต่เนิ่นๆ
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศ
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศเป็นสิ่งที่จัดทำขึ้นหรือกำหนดขึ้นมา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการดำรงกลยุทธและบังคับใช้มาตรการต่างๆ ที่ได้วางไว้ ให้มีประสิทธิผลในทางปฏิบัติ ซึ่งจะนำไปสู่การควบคุมและแก้ไขภาวะมลพิษทางอากาศ เพื่อรักษาอากาศให้มีคุณภาพที่ดี ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยและความผาสุกของประชาชน ตลอดจนไม่ทำให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งมีชีวิตและสภาวะแวดล้อมต่างๆ
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย ที่เกี่ยวกับการควบคุมมลพิษทางอากาศ ได้กระจายอยู่ในกฎหมายแม่บทหลายๆ ฉบับ โดยมี พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพ สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 เป็นกฎหมายพื้นฐานที่มีขอบข่ายครอบคลุมการป้องกันและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม และการควบคุมภาวะมลพิษทุกๆ ด้าน รวมถึงการป้องกันและรักษาคุณภาพอากาศและการควบคุม มลพิษทางอากาศด้วย นอกจากนี้ยังมีกฎหมายอื่นๆอีกหลายบทบัญญัติและข้อกำหนดที่สามารถใช้ควบคุม และป้องกันภาวะมลพิษทางอากาศได้ เช่น พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535 เป็นต้น
อ้างอิง
http://www.aqnis.pcd.go.th/basic/pollution_basic.htm
http://www.sut.ac.th/im/data/LecAP5.pdf
http://www.school.net.th/library/snet6/envi6/kot/kot1.htm
http://www.environnet.in.th/evdb/info/air/download/151_air/1516.pdf
http://www.sut.ac.th/im/data/LecAP5.pdf
http://www.school.net.th/library/snet6/envi6/kot/kot1.htm
http://www.environnet.in.th/evdb/info/air/download/151_air/1516.pdf
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น