มีข่าวเล็กๆ ลงในหน้าธุรกิจหนังสือพิมพ์ ซึ่งเมื่ออ่านดูเแล้วก็รู้สึกถึงความหวังในเรื่องการใช้พลังงานสะอาดในอนาคต ที่จะตามมา รวมถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจะมีน้อยลง
เนื้อหาของข่าว ที่ว่า พูดถึงเรื่องการส่งเสริมการผลิตพลังงานทดแทนขึ้นมาใช้ของประเทศไทย ว่านำมาเป็นอันดับหนึ่งของภูมิภาคอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นพลังงานลม พลังงานจากแสงอาทิตย์ และพลังงานของน้ำ
ปัจจุบันแม้ว่าในการพัฒนานำพลังงานสะอาดเหล่านี้มาใช้ไทยยังต้องพึ่งพิงความรู้หรือเทคโนโลยีจากต่าง ประเทศเป็นจำนวนมากอยู่ แต่ที่เป็นอยู่ ณ ปัจจุบันก็พอจะตอบโจทย์การใช้พลังงานสะอาดเหล่านี้ในอนาคตได้
ในเนื้อหาของข่าว ได้อ้างคำพูดของนายศุภชัย หล่อโลหการ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) ไว้ว่า "สน ช.ได้สนับสนุนโครงการอุตสาหกรรมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพลังงานสะอาดไปกว่า 11 โครงการ มูลค่ารวม 9.1 ล้านบาท จากมูลค่าการลงทุนรวม 82 หมื่นล้านบาท เช่น โครงการระบบผลิตก๊าซชีวภาพจากสิ่งปฏิกูล โครงการผลิตไบโอดีเซลจากกรดไขมันปาล์ม โครงการหลอดแก้วรับความร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์ และโครงการต้นแบบพลังงานน้ำสำหรับชุมชน"
ยกตัวอย่างผลรูปธรรมพลังานสะอาดในตอนนี้ ที่เห็นภาพชัดจะมีกรณีโรงผลิตไฟฟ้าชuวมวล ในประเทศไทยถือว่าเข้มแข็ง เมื่อพิจารณาจากการรับซื้อไฟฟ้าจากเอกชนกลับคืนสายส่งของการไฟฟ้า พบมากกว่า 1,000 เมกะวัตต์ ขณะที่ก๊าซชีวภาพและการแปลงขยะเป็นพลังงานก็ไปได้ไกลพอสมควร แต่ก็ยังติดปัญหาอยู่ที่ต้นทุนการผลิตยังแพงกว่าน้ำมันจากฟอสซิล
ข้อดีของเรื่องนี้ คืออะไร ถ้าหากอนาคตประเทศไทย รวมถึงประเทศต่างๆ ทั้งหมดบนโลกสามารถหันมาใช้พลังงานทดแทนได้ ข่าวอย่างกรณีการระเบิดของแท่นขุดเจาะน้ำมันบริษัทบีบีกลางอ่าวเม็กซิโกก็คงไม่เกิด สิ่งมีชีวิตจำนวนมากในมหาสมุทรก็จะไม่ต้องมารับผลกระทบที่พวกมันไม่ได้ก่อ หรือเราคงไม่ต้องสร้างเขื่อนขนาดใหญ่อีก โดยให้ข้ออ้างที่ว่าเป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติที่คะเนการใช้ไฟฟ้าล่วง หน้าไปก่อน 5 ปี 10 ปี เพราะอย่างที่รู้กันในประเทสไทย แทบจะไม่มีพื้นที่เหลือให้สร้างเขื่อนแล้ว หากมีนั่นคือหมายถึงการขโมยเอาพื้นที่ป่าอันอุดมสมบูรณ์ และพื้นที่ทำมาหากินของชาวบ้านอีกนับหลายครัวเรือน และคงไม่ใช่ทุกครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนจะโชคดีเหมือนยายไฮ
จากประเด็นเรื่องเขื่อน มีมุมมองที่น่าสนใจจากสหรัฐอเมริกาเจ้าแห่งการสร้างเขื่อนที่ไทยยึดถือเป็น ต้นแบบในการพัฒนา เริ่มเปลี่ยนกระบวนทัศน์การจัดการปัญหาเรื่องน้ำด้วยการทุบเขื่อนทิ้งหลาย แห่งโดยมีเหตุผลว่า "เขื่อนขัดขวางการเดินทางของปลาหลากพันธุ์"
นอกจากนี้ปัจจุบันอเมริกายังหันไปหาวิธีจัดการน้ำและการผลิตพลังงานแบบอื่นจึง เป็นทางเลือกที่คุ้มทุนมากกว่า โดยมีหัวใจหลักของการทำงานคือ การปรับตัวด้วยความเคารพธรรมชาติ
หรือในส่วนของพลังงานลม ลมเป็นแหล่งพลังงานที่ใช้กันมานานกว่า 4,000 ปีแล้ว สำหรับประเทศไทย พลังงานลมก็ถือว่าเป็นพลังงานที่ใช้กันมาช้านาน ส่วนมากจะใช้ในการวิดน้ำเข้าสู่พื้นที่เกษตรกรรม เช่น นาข้าว และ นาเกลือ แต่ปัจจุบันเรากลับหันไปใช้วิธีอื่น อย่างเครื่องสูบน้ำที่ต้องอาศัยน้ำมันในการขับเคลื่อน อาจดูไม่ใช่ เรื่องใหญ่ แต่การเปลี่ยนแปลงก็มักมาจากเรื่องราวเล็กๆ อยู่เสมอ เพียงการปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวันให้สอดคล้องกับธรรมชาติเชื่อได้ว่าในอนาคต เราอาจไม่ต้องผจญกับวิกฤตพลังงาน เพราะเราต่างมีพลังงานรายล้อมอยู่รอบตัว มนุษย์เราเป็นสัตว์ประเภทที่มีความสามารถในการพัฒนาความคิดได้อยู่ตลอดเวลา บางครั้งบางทีเราควรจะคิดต่อไปข้างหน้าเรื่อยๆ ดีกว่ามาจมปลักอยู่กับความเชื่อหรือทรรศนะคติแบบเดิมในการทำงาน
ตอนนี้แม้พลังงานทดแทนที่ได้มาจากลม แสงอาทิตย์ หรือน้ำ อาจจะยังมีต้นทุนการผลิตที่สูง และศักยภาพของการทำงานในประเทศอาจยังทำได้ไม่เต็มที่นักแต่หากเรามีการศึกษา กันอย่างจริงจังและต่อเนื่อง อนาคตการเอาพลังงานทางเลือกเหล่านี้มาใช้เป็นพลังงานหลักแทนก็คงไม่ใช่ เรื่องไกลตัวนัก อย่างน้อยๆ เทคโนโลยีเหล่านี้ที่เรานำเข้ามาจากต่างประเทศนั้น ก็เป็นคำตอบอยู่แล้วว่ามนุษย์สามารถทำได้ ลองมองดูรอบๆ ตัวให้ดีอีกครั้ง แล้วนั่งคิดให้ดีๆ ธรรมชาติให้อะไรเรามาตั้งเยอะ แต่เราได้เอามาใช้อย่างถูกวิธีหรือเปล่า
CREDIT : มูลนิธิสืบนาคะเสถียร
blog จะไม่น่าสนใจ หากมีแต่ข้อความอย่างเดียว
ตอบลบหาภาพที่เกี่ยวข้องมาลงประกอบด้วย
blog เงียบไปนิดนะ...ครูเอง