มีข่าวเล็กๆ ลงในหน้าธุรกิจหนังสือพิมพ์ ซึ่งเมื่ออ่านดูเแล้วก็รู้สึกถึงความหวังในเรื่องการใช้พลังงานสะอาดในอนาคต ที่จะตามมา รวมถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจะมีน้อยลง
เนื้อหาของข่าว ที่ว่า พูดถึงเรื่องการส่งเสริมการผลิตพลังงานทดแทนขึ้นมาใช้ของประเทศไทย ว่านำมาเป็นอันดับหนึ่งของภูมิภาคอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นพลังงานลม พลังงานจากแสงอาทิตย์ และพลังงานของน้ำ
ปัจจุบันแม้ว่าในการพัฒนานำพลังงานสะอาดเหล่านี้มาใช้ไทยยังต้องพึ่งพิงความรู้หรือเทคโนโลยีจากต่าง ประเทศเป็นจำนวนมากอยู่ แต่ที่เป็นอยู่ ณ ปัจจุบันก็พอจะตอบโจทย์การใช้พลังงานสะอาดเหล่านี้ในอนาคตได้
ในเนื้อหาของข่าว ได้อ้างคำพูดของนายศุภชัย หล่อโลหการ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) ไว้ว่า "สน ช.ได้สนับสนุนโครงการอุตสาหกรรมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพลังงานสะอาดไปกว่า 11 โครงการ มูลค่ารวม 9.1 ล้านบาท จากมูลค่าการลงทุนรวม 82 หมื่นล้านบาท เช่น โครงการระบบผลิตก๊าซชีวภาพจากสิ่งปฏิกูล โครงการผลิตไบโอดีเซลจากกรดไขมันปาล์ม โครงการหลอดแก้วรับความร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์ และโครงการต้นแบบพลังงานน้ำสำหรับชุมชน"
ยกตัวอย่างผลรูปธรรมพลังานสะอาดในตอนนี้ ที่เห็นภาพชัดจะมีกรณีโรงผลิตไฟฟ้าชuวมวล ในประเทศไทยถือว่าเข้มแข็ง เมื่อพิจารณาจากการรับซื้อไฟฟ้าจากเอกชนกลับคืนสายส่งของการไฟฟ้า พบมากกว่า 1,000 เมกะวัตต์ ขณะที่ก๊าซชีวภาพและการแปลงขยะเป็นพลังงานก็ไปได้ไกลพอสมควร แต่ก็ยังติดปัญหาอยู่ที่ต้นทุนการผลิตยังแพงกว่าน้ำมันจากฟอสซิล
ข้อดีของเรื่องนี้ คืออะไร ถ้าหากอนาคตประเทศไทย รวมถึงประเทศต่างๆ ทั้งหมดบนโลกสามารถหันมาใช้พลังงานทดแทนได้ ข่าวอย่างกรณีการระเบิดของแท่นขุดเจาะน้ำมันบริษัทบีบีกลางอ่าวเม็กซิโกก็คงไม่เกิด สิ่งมีชีวิตจำนวนมากในมหาสมุทรก็จะไม่ต้องมารับผลกระทบที่พวกมันไม่ได้ก่อ หรือเราคงไม่ต้องสร้างเขื่อนขนาดใหญ่อีก โดยให้ข้ออ้างที่ว่าเป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติที่คะเนการใช้ไฟฟ้าล่วง หน้าไปก่อน 5 ปี 10 ปี เพราะอย่างที่รู้กันในประเทสไทย แทบจะไม่มีพื้นที่เหลือให้สร้างเขื่อนแล้ว หากมีนั่นคือหมายถึงการขโมยเอาพื้นที่ป่าอันอุดมสมบูรณ์ และพื้นที่ทำมาหากินของชาวบ้านอีกนับหลายครัวเรือน และคงไม่ใช่ทุกครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนจะโชคดีเหมือนยายไฮ
จากประเด็นเรื่องเขื่อน มีมุมมองที่น่าสนใจจากสหรัฐอเมริกาเจ้าแห่งการสร้างเขื่อนที่ไทยยึดถือเป็น ต้นแบบในการพัฒนา เริ่มเปลี่ยนกระบวนทัศน์การจัดการปัญหาเรื่องน้ำด้วยการทุบเขื่อนทิ้งหลาย แห่งโดยมีเหตุผลว่า "เขื่อนขัดขวางการเดินทางของปลาหลากพันธุ์"
นอกจากนี้ปัจจุบันอเมริกายังหันไปหาวิธีจัดการน้ำและการผลิตพลังงานแบบอื่นจึง เป็นทางเลือกที่คุ้มทุนมากกว่า โดยมีหัวใจหลักของการทำงานคือ การปรับตัวด้วยความเคารพธรรมชาติ
หรือในส่วนของพลังงานลม ลมเป็นแหล่งพลังงานที่ใช้กันมานานกว่า 4,000 ปีแล้ว สำหรับประเทศไทย พลังงานลมก็ถือว่าเป็นพลังงานที่ใช้กันมาช้านาน ส่วนมากจะใช้ในการวิดน้ำเข้าสู่พื้นที่เกษตรกรรม เช่น นาข้าว และ นาเกลือ แต่ปัจจุบันเรากลับหันไปใช้วิธีอื่น อย่างเครื่องสูบน้ำที่ต้องอาศัยน้ำมันในการขับเคลื่อน อาจดูไม่ใช่ เรื่องใหญ่ แต่การเปลี่ยนแปลงก็มักมาจากเรื่องราวเล็กๆ อยู่เสมอ เพียงการปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวันให้สอดคล้องกับธรรมชาติเชื่อได้ว่าในอนาคต เราอาจไม่ต้องผจญกับวิกฤตพลังงาน เพราะเราต่างมีพลังงานรายล้อมอยู่รอบตัว มนุษย์เราเป็นสัตว์ประเภทที่มีความสามารถในการพัฒนาความคิดได้อยู่ตลอดเวลา บางครั้งบางทีเราควรจะคิดต่อไปข้างหน้าเรื่อยๆ ดีกว่ามาจมปลักอยู่กับความเชื่อหรือทรรศนะคติแบบเดิมในการทำงาน
ตอนนี้แม้พลังงานทดแทนที่ได้มาจากลม แสงอาทิตย์ หรือน้ำ อาจจะยังมีต้นทุนการผลิตที่สูง และศักยภาพของการทำงานในประเทศอาจยังทำได้ไม่เต็มที่นักแต่หากเรามีการศึกษา กันอย่างจริงจังและต่อเนื่อง อนาคตการเอาพลังงานทางเลือกเหล่านี้มาใช้เป็นพลังงานหลักแทนก็คงไม่ใช่ เรื่องไกลตัวนัก อย่างน้อยๆ เทคโนโลยีเหล่านี้ที่เรานำเข้ามาจากต่างประเทศนั้น ก็เป็นคำตอบอยู่แล้วว่ามนุษย์สามารถทำได้ ลองมองดูรอบๆ ตัวให้ดีอีกครั้ง แล้วนั่งคิดให้ดีๆ ธรรมชาติให้อะไรเรามาตั้งเยอะ แต่เราได้เอามาใช้อย่างถูกวิธีหรือเปล่า
CREDIT : มูลนิธิสืบนาคะเสถียร
วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554
วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2554
ปัญหามลภาวะทางอากาศ
เนื่องจากในปัจจุบัน มลพิษทางอากาศเป็นปัญหาที่สำคัญอีกหนึ่งปัญหา ท่ามกลางการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมต่างๆนั้นก็ได้มีส่วนที่ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศด้วยเช่นกัน บางคนอาจคิดว่ามลพิษทางอากาศนั้นเป็นแค่เพียงฝุ่นละออง แต่ในความจริงแล้วมลพิษทางอากาศยังรวมไปถึงสารอันตรายประเภทต่างๆ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นต่อสุขภาพของมนุษย์แล้ว ยังส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆซึ่งมีความจำเป็นในการดำรงชีวิตอีกด้วย ดังนั้นเราจึงควรศึกษาถึงแหล่งกำเนิดและผลกระทบของมลพิษ เพื่อหาวิธีป้องกันและแก้ไขเหล่าปัญหาที่จะ
เกิดขึ้น
กราฟสรุป : ผลกระทบที่เกิดขึ้นในด้านต่างๆจากมลพิษทางอากาศ
เกิดขึ้น
เนื้อหาโดยสรุป
มลพิษทางอากาศ เกิดจากแหล่งกำเนิดทางธรรมชาติ และที่มนุษย์สร้างขึ้นโดยเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ มลพิษทางอากาศมีหลายประเภท มีทั้งประเภทที่เป็นอันตราย และประเภททั่วไปซึ่งสิ่งเหล่านี้ ได้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชีวิตมนุษย์ดังนั้นเราทุกคนจึงควรทำความรู้จักกับ สิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้ ศึกษาข้อมูล ผลกระทบ และหาหนทางที่จะแก้ไขสิ่งที่เกิดขึ้นจากมลพิษทางอากาศ
คำจำกัดความ
มลพิษทางอากาศ(Air Pollution) หมายถึง สภาพอากาศที่มีสารเจือปน และถ้าสารเจือปนนี้สะสมอยู่ในอากาศ เป็นเวลานานๆ จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ สัตว์ และพืชผลต่างๆ รวมทั้งสิ่งแวดล้อมรอบๆสภาพอากาศ ที่มีสารเจือปนเหล่านั้น
แหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศ
1. แหล่งกำเนิดตามธรรมชาติ
1.1 ภูเขาไฟระเบิด การที่เกิดภูเขาไฟระเบิดจะมีเขม่าพ้นออกมาในบรรยากาศจำนวนมาก ซึ่งเขม่าเหล่านั้นก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้เกิดมลภาวะทางอากาศและเขม่าที่เกิดจากภูเขาไฟระเบิดจะสามารถอยู่ในอากาศได้นานนับปี
1.1 ภูเขาไฟระเบิด การที่เกิดภูเขาไฟระเบิดจะมีเขม่าพ้นออกมาในบรรยากาศจำนวนมาก ซึ่งเขม่าเหล่านั้นก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้เกิดมลภาวะทางอากาศและเขม่าที่เกิดจากภูเขาไฟระเบิดจะสามารถอยู่ในอากาศได้นานนับปี
1.2 ไฟป่า เมื่อเกิดไฟป่าแต่ละครั้งจะเกิดควันขึ้นมาจำนวนมหาศาล ซึ่งควันที่เกิดจากไฟป่านั้นก็เป็นส่วนที่ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ
1.3 จุลินทรีย์ พวกจุลินทรีย์จะมีการย่อยสลายสิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นซากพืชซากสัตว์ ซึ่งในการย่อยสลายจะทำให้เกิดก๊าชแอมโมเนีย (NH3) เป็นก๊าชที่ทำในเกิดกลิ่นเหม็น
1.4 อนุภาคมวลสาร อนุภาคสารจะเป็นอนุภาคขนาดเล็กซึ่งสามารถลอยไปตามอากาศซึ่งเป็นสาเหตุในเกิดโรคต่าง ๆ มากมาย
2. แหล่งกำเนิดที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์
2.1 การคมนาคม ปัจจุบันมีการข้นส่งสินค้า การเดินทางเป็นจำนวนมากโดยการใช้ยานพาหนะต่างโดยเฉพาะรถยนต์ซึ่งเป็นต้นเหตุสำคัญที่สุด โดยที่รถยนต์จะปล่อยกาศพวกคาร์บอน ไดออกไซด์ ก๊าชไนตริกออกไซด์และก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์รวมทั้งกาซคาร์บอนมอนนอกไซด์ซึ่งก๊าซเหล่านี้เป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ
2.3 การเผาไหม้ของเชื่อเพลิง การเผาไหม้เชื้อเพลิงเป็นสิ่งที่สำคัญในการใช้ชีวิตประจำวันที่เราใช้ในการดำเนินชีวิต แต่ในการเผาไหม้เหล่านั้นก็จะทำให้มีการปล่อยสารพวก ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ ไฮโดคาร์บอนและอนุภาคของมวลสารต่าง ๆ ซึ่งเป็นสารที่ทำในเกิดมลพิษทางอากาศ
2.4 การเผาขยะสิ่งปฏิกูล ปัจจุบันมีขยะเกิดขึ้นมากมายซึ่งก็นำมาซึ่งการทำลายและการทำลายวิธีหนึ่งก็คือการเผาใหม้ซึ่งการเผาใหม้จะมีการปล่อยสารพวก สารประกอบไฮโดรคาร์บอน ออกไซด์ของไนโตรเจน ออกไซด์ของกำมะถัน คาร์บอนมอนอกไซด์และคาร์บอนไดออกไซด์เป็นต้นซึ่งเป็นสาเหตุทำในเกิดมลพิษทางอากาศ
2.5 โรงงานอุตสาหกรรม ปัจจุบันโลกมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วและที่ตามมาพร้อมกันก็คือการเกิดโรงงานอุสาหกรรมขึ้นมาด้วยซึ่งโรงงานอุสาหกรรมเหล่านี้จะมีการใช้พลังงานและการเผาถ่านเชื่อเพลิงเป็นจำนวนมากซึ่งจะทำในเกิดการปล่อยสารจำพวก ฝุ่นละออง เขม่า ควัน ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ และก๊าซพิษอื่น ๆ อีกหลายชนิด ก๊าซเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุที่สำคัญในการก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ
ประเภทของมลพิษทางอากาศ
1. ประเภททั่วไป
• คาร์บอนไดออกไซด์ : เกิดจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงและสิ่งอื่นๆอย่างสมบูรณ์
• คาร์บอนมอนอกไซด์ : เกิดจาการเผาไหม้เช่นเดียวกับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ แต่เป็นการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ มักถูกปล่อยออกมาจากท่อไอเสียของรถยนต์เป็นส่วนใหญ่
• ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ : เป็นออกไซด์ของกำมะถันที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง ถ่านหินและน้ำมัน
• ออกไซด์ของไนโตรเจน : ซึ่งมักได้แก่ก๊าซไนตริคออกไซด์ และก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ เป็นผลจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงที่อุณหภูมิสูง
• ไฮโดรคาร์บอน : เกิดจากการระเหยของนํ้ามันเป็นส่วนใหญ่ เช่น ฟอร์มาดีไฮด์ อัลดีไฮด์ และคีโทนด์
• ละอองตะกั่ว : เป็นโลหะอ่อนสีเทาเงินอยู่ในรูปของสารประกอบอินทรีย์จำพวกเตตราเอทิลเลต
• หมอกควัน : เป็นกลุ่มของหยดน้ำแขวนลอยอยู่ในอากาศ
2. ประเภทสารอันตราย
• ไอระเหยอินทรีย์
• สารพวกHAPs : สารเหล่านี้มักถูกผสมอยู่ในพวกสี ตัวทำละลาย น้ำมัน ซึ่งมีแหล่งปล่อยออกมาจากยานยนต์ตามท้องถนน รวมทั้งเครื่องจักรกลด้วย
ผลกระทบที่เกิดจากมลพิษทางอากาศ
มลพิษทางอากาศนั้นได้ส่งผลกระทบหลายด้านดังสรุปในกราฟนั้นมีอยู่ด้วยกัน 4 ด้านคือ
1. ผลต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ :มนุษย์ได้รับผลทั้งทางตรงและทางอ้อมซึ่งล้วนแล้วแต่ไม่ใช้ผลดีต่อตัวมนุษย์เราทั้งสิ้น ผลกระทบโดยตรงคือการที่เราได้หายใจเอาสารพิษเข้าไปในร่างกายซึ่งจะส่งผลเสียต่อสุขภาพ ทำให้นำมาซึ่งโรคภัยไข้เจ็บต่างๆมากมาย เช่นส่งผลเสียต่อระบบหายใจและผิวหนัง ซึ่งเกิดการระคายเคืองเนื่องจากการทำปฏิกริยาของสารเคมีที่มีอยู่ในอากาศ ถ้ามนุษย์อยู่ใน สภาพแวดล้อมอย่างนี้ก็จะมีแต่ทำให้สุขภาพแย่ลอง
2. ผลต่อพืช : เนื่องจากสารเคมีที่มีอยู่ในธรรมชาติส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืช โครงสร้างของพืชเช่นเซลล์และระบบต่างๆถูกทำลาย และสารเคมีบางชนิดยังส่งผลให้การเจริญเติบโต ของพืชถูกทำลายไป
3. ผลต่อสัตว์ :สัตว์นับเป็นสิ่งมีชีวิตเปรียบได้เช่นเดียวกับคนการที่สารเคมีและมลพิษในอากาศมีมากส่งผลกระทบกับคนก็เหมือนกับมลพิษเหล่านั้นได้ส่งผลเสียต่อสัตว์ด้วย
4. ผลต่อวัตถุและทรัพย์สิน : วัตถุและทรัพย์สิน เช่นอาคารและตึกจะถูกทำลาย เกิดความสกปรกกับอาคารหรือสิ่งของ และการกัดกร่อนด้วยสารเคมีที่ทำปฏิกริยากัน เช่น ฝนกรดมีผลทำให้ตึก ต่างๆสูญเสียรูปทรง เพราะฝนกรดจะกัดกร่อนสิ่งต่างๆที่ที่เป็นปูน นอกจากนี้ฝุ่นและควันต่างๆทำให้สูญเสียการมองเห็น กล่าวคือลดระยะการมองเห็นนั่นเอง
นอกจากนี้กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมยังได้มีข้อมูลกล่าวมาว่าผลกระทบที่เกิดจากมลพิษทางอากาศก่อให้
1.เกิดภาวะการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลก(ภาวะโลกร้อน)
2.ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นและเกิดน้ำท่วมรุนแรงกว่าเดิม
3.ระบบนิเวศเปลี่ยนแปลง
การจัดการมลพิษทางอากาศ
การจัดการมลพิษทางอากาศมีหลายทางเช่น การควบคุมความสูงของปล่องระบายอากาศ เพื่อให้ความเข้มข้นของสารพิษในอากาศได้เจือจาง ก่อนตกลงสู่พื้นดิน การควบคุมคุณภาพอากาศเสียที่ระบายออกมา นั้นก็สามารถทำได้โดยการเลือกใช้อุปกรณที่สามารถกำจัดมลพิษได้ และควรใช้เชื้อเพลิงที่มีมลพิษต่ำ นอกจากนี้ การกำหนดมาตรฐานอากาศเสียของโรงงานอุตสาหกรรมก็เป็นอีกทางที่สามารถจัดการปัญหามลพิษได้นอกจากนี้แล้วการออกกฎหมายควบคุมโดยเฉพาะเรื่องควันดำ ก็เป็นอีกทางที่เป็นการป้องกัน การเกิดมลพิษทางอากาศด้วย
บทสรุป
ปัญหามลพิษทางอากาศปัจจุบันนี้ไม่ใช้เรื่องไกลตัวเราอีกต่อไปแล้วเราทุกคนควรร่วมมือกันเพื่อที่จะหาทางแก้ไขปัญหาเหล่านี้ เพราะคงไม่มีใครอยากให้ตัวเราหรือโลกของเราได้รับผลกระทบที่ร้ายแรงไปมากกว่านี้ จากการสำรวจประชากรในประเทศ พบว่า ร้อยละ3.4 เห็นว่าปัญหามลพิษทางอากาศเป็นปัญหาที่สำคัญที่สุดของประเทศ ฉะนั้นปัญหามลพิษทางอากาศจึงเป็นปัญหาที่เราทุกคนต้องช่วยกันแก้ไขกันอย่างเร่งด่วน เพราะปัญหานี้นับวันยิ่งส่งผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมมากขึ้นอย่างไม่มีทีท่าว่าจะลดน้อยลงเลย สิ่งแวดล้มที่ไร้มลภาวะทางอากาศเป็นสิ่งสำคัญที่คนทุกคนต้องร่วมกันตระหนักถึง เพราะนอกจากส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตแล้วยังส่งผลในระดับโลก เช่น ภาวะโลกร้อนอีกด้วย อย่าให้ปัญหาเล็กๆต้องกลายเป็นปัญหาใหญ่ เราควรร่วมมือ ร่วมใจกันป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศตั้งแต่เนิ่นๆ
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศ
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศเป็นสิ่งที่จัดทำขึ้นหรือกำหนดขึ้นมา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการดำรงกลยุทธและบังคับใช้มาตรการต่างๆ ที่ได้วางไว้ ให้มีประสิทธิผลในทางปฏิบัติ ซึ่งจะนำไปสู่การควบคุมและแก้ไขภาวะมลพิษทางอากาศ เพื่อรักษาอากาศให้มีคุณภาพที่ดี ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยและความผาสุกของประชาชน ตลอดจนไม่ทำให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งมีชีวิตและสภาวะแวดล้อมต่างๆ
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย ที่เกี่ยวกับการควบคุมมลพิษทางอากาศ ได้กระจายอยู่ในกฎหมายแม่บทหลายๆ ฉบับ โดยมี พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพ สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 เป็นกฎหมายพื้นฐานที่มีขอบข่ายครอบคลุมการป้องกันและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม และการควบคุมภาวะมลพิษทุกๆ ด้าน รวมถึงการป้องกันและรักษาคุณภาพอากาศและการควบคุม มลพิษทางอากาศด้วย นอกจากนี้ยังมีกฎหมายอื่นๆอีกหลายบทบัญญัติและข้อกำหนดที่สามารถใช้ควบคุม และป้องกันภาวะมลพิษทางอากาศได้ เช่น พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535 เป็นต้น
อ้างอิง
http://www.aqnis.pcd.go.th/basic/pollution_basic.htm
http://www.sut.ac.th/im/data/LecAP5.pdf
http://www.school.net.th/library/snet6/envi6/kot/kot1.htm
http://www.environnet.in.th/evdb/info/air/download/151_air/1516.pdf
http://www.sut.ac.th/im/data/LecAP5.pdf
http://www.school.net.th/library/snet6/envi6/kot/kot1.htm
http://www.environnet.in.th/evdb/info/air/download/151_air/1516.pdf
วันอังคารที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2554
โลกร้อนใช่ไหม อนุรักษ์ธรรมชาติกันเถอะ!!
การอนุรักษ์ต้นน้ำลำธาร
การอนุรักษ์ต้นน้ำลำธาร หมายถึง การใช้ การดูแลรักษาและปรับปรุงฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติในบริเวณพื้นที่ต้นน้ำลำธาร ที่สำคัญได้แก่ ป่าไม้ ดิน และน้ำ ด้วยวิธีการที่เหมาะสมโดยให้มีการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติแต่น้อยแล้วได้รับประโยชน์คุ้มค่า อีกทั้งยังรวมถึงการป้องกันและรักษาทรัพยากรธรรมชาติบางอย่างซึ่งถูกทำลายให้มีคุณภาพดีดังเดิมหรือดีขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย ถ้าพบว่าบริเวณใดของพื้นที่ต้นน้ำลำธารมีความเสื่อมโทรมเกิดขึ้น จะต้องรีบดำเนินการปรับปรุงและฟื้นฟูพื้นที่เสื่อมโทรมเหล่านั้น ให้คืนสภาพโดยเร็วที่สุดเสมอ วิธีการอนุรักษ์ต้นน้ำลำธาร โดยทั่วไปประกอบด้วย การอนุรักษ์ป่าไม้ ร่วมกับการ อนุรักษ์ดินและน้ำ ด้วยวิธีการที่เหมาะสมต่างๆ ดังนี้
การอนุรักษ์ป่าไม้
ป่าไม้มีความสำคัญต่อพื้นที่ต้นน้ำลำธารที่จะต้องมีการอนุรักษ์ไว้เป็นอันดับแรก การอนุรักษ์ป่าไม้ทำได้โดย
๑. บำรุงรักษาสภาพป่าไม้ของบริเวณพื้นที่ต้นน้ำลำธารให้มีความอุดมสมบูรณ์ตลอดไปด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การกำหนดพื้นที่ป่าต่างๆ ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ การป้องกันและปราบปรามการลักลอบตัดไม้อย่างจริงจัง การป้องกันมิให้มีการบุกเบิกขยายพื้นที่เพื่อการทำไร่เลื่อนลอย และการป้องกันไฟไหม้ป่า
๒. ปรับปรุงบูรณะสภาพพื้นที่ป่าไม้ซึ่งถูกทำลายอย่างมีประสิทธิภาพและจริงจังด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การปลูกซ่อมเสริมป่าในบริเวณพื้นที่รกร้างว่างเปล่า การทำสวนป่า การทำสวนพฤกษศาสตร์หรือสวนรุกขชาติ ตลอดจนการ จัดทำระบบวนเกษตร โดยปลูกพืชเศรษฐกิจที่เป็นไม้ผลหรือพืชอื่นผสมในสวนป่า
๓. ประชาสัมพันธ์ ด้วยการให้การศึกษาแก่เยาวชนและประชาชนทั่วไปให้ตระหนักถึงภัยอันจะเกิดขึ้นจากการที่ป่าไม้บริเวณพื้นที่ต้นน้ำลำธารถูกทำลาย และรณรงค์ให้ร่วมมือกับทางราชการในการรักษาป่าไม้อย่างกว้างขวางเป็นต้น
การอนุรักษ์ดินและน้ำ
การอนุรักษ์ดินและการอนุรักษ์น้ำในบริเวณพื้นที่ต้นน้ำลำธารเป็นกิจกรรมซึ่งมีผลเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กัน กล่าว คือ ในการอนุรักษ์ดินส่วนใหญ่เราจะดำเนินการในด้านการลดความรุนแรงของน้ำที่ไหลบ่ามาบนผิวดินมิให้ทำอันตรายต่อผิวดิน โดยการชะลอความเร็วของกระแสน้ำที่ไหลหรือด้วยวิธีการเก็บกักน้ำไว้ตามลำธารลำห้วยเป็นตอนๆ เพื่อที่น้ำจะได้มีโอกาสไหลซึมลงไปเก็บสะสมอยู่ในดินให้มากที่สุด หลังจากนั้นจึงค่อยไหลระบายออกจากดินลงสู่ลำธารและลำห้วยตลอดทั้งในฤดูฝนและฤดูแล้ง ทำให้ลำธารและลำห้วยดังกล่าวมีน้ำไหลตลอดปี และอำนวยประโยชน์เกี่ยวกับความเป็นอยู่ตลอดจนการทำมาหากินให้แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตลุ่มน้ำอย่างทั่วถึง ดังวิธีการอนุรักษ์ดินและน้ำที่สำคัญต่อไปนี้
๑. วิธีการอนุรักษ์ดินและน้ำด้วยพืช โดยการปลูกต้นไม้หรือพืชคลุมดิน เพื่อป้องกันการพังทลายของดินในบริเวณพื้นที่ต้นน้ำลำธารที่ไม่มีป่าไม้ ด้วยพันธุ์ไม้ที่เหมาะสมกับพื้นที่และวิธีการปลูกดังนี้
๑.๑ การปลูกพืชเป็นแนวตามเส้นชั้นระดับเดียวกัน โดยการปลูกพืชชนิดใดชนิดหนึ่งเป็นแนวไปตามแนวเส้นชั้นระดับเดียวกันและตั้งฉากกับความลาดเทของพื้นที่
๑.๒ การปลูกพืชสลับเป็นแถบ โดยการแบ่งพื้นที่ปลูกพืชหลายชนิดเป็นแถบสลับกันและตั้งฉากกับความลาดเทของพื้นที่มีอยู่ ๒ รูปแบบ คือ ปลูกเป็นแถบคดโค้งไปตามแนวเส้นชั้นระดับเดียวกัน และปลูกเป็นแถบตั้งฉากกับความลาดเทเป็นแนวตรงขนานกัน
๑.๓ การปลูกพืชหรือใช้วัสดุคลุมดินสำหรับพื้นที่บางแห่ง เพื่อป้องกันไม่ให้หน้าดินถูกน้ำและกระแสลมกระทำโดยตรง และยังเป็นการลดการระเหยของน้ำออกจากดินมากเกิดขอบเขตอีกด้วย พืชคลุมดิน ได้แก่ พืชตระกูลถั่วและหญ้าบางชนิด ส่วนวัสดุคลุมดินได้แก่เศษพืช เป็นต้น
๑.๔ การปลูกต้นไม้หรือพืชหลายอย่างในพื้นที่เดียวกัน เพื่อให้ใบพืชต่างๆสามารถคลุมพื้นที่ได้มากที่สุด เพื่อลดการถูกชะล้างพังทลายของดินและช่วยรักษาความชื้นในดินด้วย
๒. วิธีการอนุรักษ์ดินและน้ำด้วยการก่อสร้าง โดยทั่วไปการปลูกต้นไม้หรือพืชคลุมดินในบริเวณพื้นที่ต้นน้ำลำธารซึ่งมีความลาดชันมากแต่เพียงอย่างเดียว จะไม่สามารถชะลอความเร็วของน้ำที่ไหลบ่ามาบนผิวดินได้ดีเท่าที่ควร จึงนิยมก่อสร้างหรือดัดแปลงสภาพพื้นที่ร่วมกับวิธีการอนุรักษ์ด้วยพืช เพื่อช่วยลดความรุนแรงของน้ำที่ไหลบ่ามาดังกล่าว นอกจากนั้น ตามร่องน้ำและลำธารต่างๆ จะนิยมก่อสร้างหรือหาวิธีเก็บกักน้ำไว้เป็นระยะๆ อีกด้วยสำหรับใช้ชะลอความเร็วของกระแสน้ำ และน้ำที่กักกั้นไว้ก็จะซึมเข้าไปเก็บขังอยู่ในดินตามตลิ่ง และท้องน้ำได้มากขึ้น วิธีการอนุรักษ์ดินและน้ำด้วยการก่อสร้างที่สำคัญ มีดังนี้
๒.๑ การก่อสร้างคันดิน โดยการก่อสร้างคันดินกั้นน้ำห่างกันเป็นระยะๆตลอดความยาวของพื้นที่ลาดเอียง ซึ่งคันดินแต่ละแนวจะสร้างไปตามพื้นดินที่มีระดับดินเท่า กันโดยประมาณ หรืออาจสร้างมีแนวลาดลงสู่ที่ต่ำทีละน้อยพร้อมกับขุดร่องน้ำที่มีลักษณะแบน และตื้นอยู่ทางด้านหน้าติดกับคันดินด้วย เพื่อจะได้ระบายน้ำที่คันดินกั้นไว้ออกไปจากพื้นที่ลงสู่ร่องน้ำและลำธารต่อไป คันดินที่ก่อสร้างขึ้นควรมีลักษณะเตี้ยและแบน มีระยะความสูงของคันไม่เกิน ๓๐ เซนติเมตร และขนาดความกว้างของฐานคันดินกับความกว้างของร่องน้ำควรมีระยะรวมไม่น้อยกว่า ๕ เมตร เพื่อให้คันดินมีความมั่นคงแข็งแรง และสร้างด้วยเครื่องจักรกลได้สะดวก
๒.๒ การก่อสร้างขั้นบันได ในบริเวณลาดเนินเขาทั่วไปสมควรขุดตักดินเป็นขั้นบันไดห่างกันเป็นระยะตลอดความยาวของพื้นที่ลาดเนิน โดยเลือกขั้นบันไดดังกล่าวให้เหมาะสมกับสภาพท้องที่ดังต่อไปนี้
๑) ขั้นบันไดแบบราบ มีพื้นที่ขั้นบันไดอยู่ในแนวระดับ และนิยมสร้างคันดินเพื่อกั้นน้ำที่ขอบบันไดทุกชั้นด้วย เหมาะสำหรับท้องที่ซึ่งมีฝนตกชุกและต้องการเก็บขังน้ำไว้ใช้เพาะปลูกพืชตามขั้นบันไดดังกล่าว
๒) ขั้นบันไดแบบลาดเทออกมีพื้นที่ขั้นบันไดลาดเทออก สามารถใช้ได้ผลดีเฉพาะในท้องที่ซึ่งมีฝนตกน้อย
๓) ขั้นบันไดแบบลาดเทเข้ามีพื้นที่ขั้นบันไดลาดเทเข้า ซึ่งจะสามารถดักและเก็บขังน้ำอยู่ตามขั้นบันไดได้ จึงเหมาะที่จะก่อสร้างในภูมิภาคที่มีฝนตกชุก
การอนุรักษ์ดินและน้ำในบริเวณพื้นที่ลาดเอียงโดยวิธีการก่อสร้างคันดินและขั้นบันไดดังกล่าว สมควรปลูกต้นไม้หรือพืชคลุมดินให้ทั่วทั้งบริเวณ ทั้งนี้เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันการพังทลายของดิน และทำให้พื้นที่ต้นน้ำลำธารบริเวณนั้นมีความชุ่มชื้นเพิ่มมากขึ้น
๒.๓ การก่อสร้างฝายปิดกั้นทางน้ำ ตามร่องน้ำและลำธารต่างๆ ในบริเวณพื้นที่ต้นน้ำลำธารซึ่งถูกทำลายจนมีสภาพเสื่อมโทรมควรพิจารณาสร้างสิ่งก่อสร้างปิดกั้นลำน้ำที่เรียกว่า "ฝาย" เป็นระยะๆ เพื่อใช้ทดและเก็บน้ำที่ไหลบ่าลงมาไว้ในลำน้ำคล้ายกับอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กให้กระจายอยู่ทั่วไปตามบริเวณพื้นที่ต้นน้ำลำธารโดยน้ำที่เก็บกักนี้จะซึมเข้าไปในดินตามตลิ่งและท้องน้ำ เข้าไปเก็บอยู่ในช่องว่างระหว่างเม็ดดินทำให้น้ำที่เก็บกักอยู่ในดินตามบริเวณต้นน้ำลำธารนั้นมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ทำให้พื้นที่บริเวณต้นน้ำลำธารดังกล่าวเกิดความชุ่มชื้นและมีน้ำไหลอกจากดินหล่อเลี้ยงลำธารตลอดปี
ฝายที่สร้างปิดกั้นทางน้ำในบริเวณต้นน้ำลำธาร อาจสร้างด้วยวัสดุซึ่งมีราคาถูก และหาได้ง่ายในท้องถิ่น เช่น กิ่งไม้ ใบไม้ ไม้ไผ่ เสาไม้ ทราย และกรวด เป็นต้น โดยนำเสาไม้ มาตอกให้ห่างกันเป็นระยะๆ ขวางทางน้ำให้ได้หลายแถวตามที่ต้องการ และนำไม้เคร่ามาตอกติดกับเสาแล้วกรุด้วยไม้ไผ่ติดกับเคร่าพร้อมกับสะกิ่งใบไม้และอัดกรวดทรายลงไปในคอกให้เต็ม หรือฝายในบางท้องที่อาจใช้วัสดุก่อสร้างอันประกอบด้วยก้อนหินขนาดต่างๆ นำมากองก่ายเป็นรูปคล้ายสี่เหลี่ยมคางหมูขวางลำน้ำ โดยในช่องว่างของหินขนาดใหญ่แต่ละชั้นบรรจุด้วยกรวดและหินย่อยขนาดเล็กลงไปจนเต็ม ซึ่งฝายที่สร้างด้วยหินดังกล่าวนี้จะต้านทานน้ำที่ไหลผ่านตัวฝาย และน้ำที่ล้นข้ามสันฝายได้เป็นอย่างดี เมื่อต้องการสร้างฝายให้มั่นคงแข็งแรง และเก็บขังน้ำได้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางน้ำที่มีน้ำไหลแรงในฤดูฝนก็จะต้องใช้วัสดุที่มีความคงทนถาวรเป็นหลัก ได้แก่ หิน ซีเมนต์ และคอนกรีตล้วน โดยมีการคำนวณออกแบบกำหนดสัดส่วนของฝายให้เหมาะสมกับภูมิประเทศ ให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำที่คาดว่าจะมีมามากที่สุดให้ไหลข้ามฝายไปได้อย่างปลอดภัย และจะต้องทำการก่อสร้างให้ถูกวิธีด้วย
ที่มา : http://guru.sanook.com/search/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B9%8C%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89
หรือ สารานุกรมไทยฉบับเยาวชน
การอนุรักษ์ต้นน้ำลำธาร หมายถึง การใช้ การดูแลรักษาและปรับปรุงฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติในบริเวณพื้นที่ต้นน้ำลำธาร ที่สำคัญได้แก่ ป่าไม้ ดิน และน้ำ ด้วยวิธีการที่เหมาะสมโดยให้มีการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติแต่น้อยแล้วได้รับประโยชน์คุ้มค่า อีกทั้งยังรวมถึงการป้องกันและรักษาทรัพยากรธรรมชาติบางอย่างซึ่งถูกทำลายให้มีคุณภาพดีดังเดิมหรือดีขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย ถ้าพบว่าบริเวณใดของพื้นที่ต้นน้ำลำธารมีความเสื่อมโทรมเกิดขึ้น จะต้องรีบดำเนินการปรับปรุงและฟื้นฟูพื้นที่เสื่อมโทรมเหล่านั้น ให้คืนสภาพโดยเร็วที่สุดเสมอ วิธีการอนุรักษ์ต้นน้ำลำธาร โดยทั่วไปประกอบด้วย การอนุรักษ์ป่าไม้ ร่วมกับการ อนุรักษ์ดินและน้ำ ด้วยวิธีการที่เหมาะสมต่างๆ ดังนี้
การอนุรักษ์ป่าไม้
ป่าไม้มีความสำคัญต่อพื้นที่ต้นน้ำลำธารที่จะต้องมีการอนุรักษ์ไว้เป็นอันดับแรก การอนุรักษ์ป่าไม้ทำได้โดย
๑. บำรุงรักษาสภาพป่าไม้ของบริเวณพื้นที่ต้นน้ำลำธารให้มีความอุดมสมบูรณ์ตลอดไปด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การกำหนดพื้นที่ป่าต่างๆ ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ การป้องกันและปราบปรามการลักลอบตัดไม้อย่างจริงจัง การป้องกันมิให้มีการบุกเบิกขยายพื้นที่เพื่อการทำไร่เลื่อนลอย และการป้องกันไฟไหม้ป่า
๒. ปรับปรุงบูรณะสภาพพื้นที่ป่าไม้ซึ่งถูกทำลายอย่างมีประสิทธิภาพและจริงจังด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การปลูกซ่อมเสริมป่าในบริเวณพื้นที่รกร้างว่างเปล่า การทำสวนป่า การทำสวนพฤกษศาสตร์หรือสวนรุกขชาติ ตลอดจนการ จัดทำระบบวนเกษตร โดยปลูกพืชเศรษฐกิจที่เป็นไม้ผลหรือพืชอื่นผสมในสวนป่า
๓. ประชาสัมพันธ์ ด้วยการให้การศึกษาแก่เยาวชนและประชาชนทั่วไปให้ตระหนักถึงภัยอันจะเกิดขึ้นจากการที่ป่าไม้บริเวณพื้นที่ต้นน้ำลำธารถูกทำลาย และรณรงค์ให้ร่วมมือกับทางราชการในการรักษาป่าไม้อย่างกว้างขวางเป็นต้น
การอนุรักษ์ดินและน้ำ
การอนุรักษ์ดินและการอนุรักษ์น้ำในบริเวณพื้นที่ต้นน้ำลำธารเป็นกิจกรรมซึ่งมีผลเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กัน กล่าว คือ ในการอนุรักษ์ดินส่วนใหญ่เราจะดำเนินการในด้านการลดความรุนแรงของน้ำที่ไหลบ่ามาบนผิวดินมิให้ทำอันตรายต่อผิวดิน โดยการชะลอความเร็วของกระแสน้ำที่ไหลหรือด้วยวิธีการเก็บกักน้ำไว้ตามลำธารลำห้วยเป็นตอนๆ เพื่อที่น้ำจะได้มีโอกาสไหลซึมลงไปเก็บสะสมอยู่ในดินให้มากที่สุด หลังจากนั้นจึงค่อยไหลระบายออกจากดินลงสู่ลำธารและลำห้วยตลอดทั้งในฤดูฝนและฤดูแล้ง ทำให้ลำธารและลำห้วยดังกล่าวมีน้ำไหลตลอดปี และอำนวยประโยชน์เกี่ยวกับความเป็นอยู่ตลอดจนการทำมาหากินให้แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตลุ่มน้ำอย่างทั่วถึง ดังวิธีการอนุรักษ์ดินและน้ำที่สำคัญต่อไปนี้
๑. วิธีการอนุรักษ์ดินและน้ำด้วยพืช โดยการปลูกต้นไม้หรือพืชคลุมดิน เพื่อป้องกันการพังทลายของดินในบริเวณพื้นที่ต้นน้ำลำธารที่ไม่มีป่าไม้ ด้วยพันธุ์ไม้ที่เหมาะสมกับพื้นที่และวิธีการปลูกดังนี้
๑.๑ การปลูกพืชเป็นแนวตามเส้นชั้นระดับเดียวกัน โดยการปลูกพืชชนิดใดชนิดหนึ่งเป็นแนวไปตามแนวเส้นชั้นระดับเดียวกันและตั้งฉากกับความลาดเทของพื้นที่
๑.๒ การปลูกพืชสลับเป็นแถบ โดยการแบ่งพื้นที่ปลูกพืชหลายชนิดเป็นแถบสลับกันและตั้งฉากกับความลาดเทของพื้นที่มีอยู่ ๒ รูปแบบ คือ ปลูกเป็นแถบคดโค้งไปตามแนวเส้นชั้นระดับเดียวกัน และปลูกเป็นแถบตั้งฉากกับความลาดเทเป็นแนวตรงขนานกัน
๑.๓ การปลูกพืชหรือใช้วัสดุคลุมดินสำหรับพื้นที่บางแห่ง เพื่อป้องกันไม่ให้หน้าดินถูกน้ำและกระแสลมกระทำโดยตรง และยังเป็นการลดการระเหยของน้ำออกจากดินมากเกิดขอบเขตอีกด้วย พืชคลุมดิน ได้แก่ พืชตระกูลถั่วและหญ้าบางชนิด ส่วนวัสดุคลุมดินได้แก่เศษพืช เป็นต้น
๑.๔ การปลูกต้นไม้หรือพืชหลายอย่างในพื้นที่เดียวกัน เพื่อให้ใบพืชต่างๆสามารถคลุมพื้นที่ได้มากที่สุด เพื่อลดการถูกชะล้างพังทลายของดินและช่วยรักษาความชื้นในดินด้วย
๒. วิธีการอนุรักษ์ดินและน้ำด้วยการก่อสร้าง โดยทั่วไปการปลูกต้นไม้หรือพืชคลุมดินในบริเวณพื้นที่ต้นน้ำลำธารซึ่งมีความลาดชันมากแต่เพียงอย่างเดียว จะไม่สามารถชะลอความเร็วของน้ำที่ไหลบ่ามาบนผิวดินได้ดีเท่าที่ควร จึงนิยมก่อสร้างหรือดัดแปลงสภาพพื้นที่ร่วมกับวิธีการอนุรักษ์ด้วยพืช เพื่อช่วยลดความรุนแรงของน้ำที่ไหลบ่ามาดังกล่าว นอกจากนั้น ตามร่องน้ำและลำธารต่างๆ จะนิยมก่อสร้างหรือหาวิธีเก็บกักน้ำไว้เป็นระยะๆ อีกด้วยสำหรับใช้ชะลอความเร็วของกระแสน้ำ และน้ำที่กักกั้นไว้ก็จะซึมเข้าไปเก็บขังอยู่ในดินตามตลิ่ง และท้องน้ำได้มากขึ้น วิธีการอนุรักษ์ดินและน้ำด้วยการก่อสร้างที่สำคัญ มีดังนี้
๒.๑ การก่อสร้างคันดิน โดยการก่อสร้างคันดินกั้นน้ำห่างกันเป็นระยะๆตลอดความยาวของพื้นที่ลาดเอียง ซึ่งคันดินแต่ละแนวจะสร้างไปตามพื้นดินที่มีระดับดินเท่า กันโดยประมาณ หรืออาจสร้างมีแนวลาดลงสู่ที่ต่ำทีละน้อยพร้อมกับขุดร่องน้ำที่มีลักษณะแบน และตื้นอยู่ทางด้านหน้าติดกับคันดินด้วย เพื่อจะได้ระบายน้ำที่คันดินกั้นไว้ออกไปจากพื้นที่ลงสู่ร่องน้ำและลำธารต่อไป คันดินที่ก่อสร้างขึ้นควรมีลักษณะเตี้ยและแบน มีระยะความสูงของคันไม่เกิน ๓๐ เซนติเมตร และขนาดความกว้างของฐานคันดินกับความกว้างของร่องน้ำควรมีระยะรวมไม่น้อยกว่า ๕ เมตร เพื่อให้คันดินมีความมั่นคงแข็งแรง และสร้างด้วยเครื่องจักรกลได้สะดวก
๒.๒ การก่อสร้างขั้นบันได ในบริเวณลาดเนินเขาทั่วไปสมควรขุดตักดินเป็นขั้นบันไดห่างกันเป็นระยะตลอดความยาวของพื้นที่ลาดเนิน โดยเลือกขั้นบันไดดังกล่าวให้เหมาะสมกับสภาพท้องที่ดังต่อไปนี้
๑) ขั้นบันไดแบบราบ มีพื้นที่ขั้นบันไดอยู่ในแนวระดับ และนิยมสร้างคันดินเพื่อกั้นน้ำที่ขอบบันไดทุกชั้นด้วย เหมาะสำหรับท้องที่ซึ่งมีฝนตกชุกและต้องการเก็บขังน้ำไว้ใช้เพาะปลูกพืชตามขั้นบันไดดังกล่าว
๒) ขั้นบันไดแบบลาดเทออกมีพื้นที่ขั้นบันไดลาดเทออก สามารถใช้ได้ผลดีเฉพาะในท้องที่ซึ่งมีฝนตกน้อย
๓) ขั้นบันไดแบบลาดเทเข้ามีพื้นที่ขั้นบันไดลาดเทเข้า ซึ่งจะสามารถดักและเก็บขังน้ำอยู่ตามขั้นบันไดได้ จึงเหมาะที่จะก่อสร้างในภูมิภาคที่มีฝนตกชุก
การอนุรักษ์ดินและน้ำในบริเวณพื้นที่ลาดเอียงโดยวิธีการก่อสร้างคันดินและขั้นบันไดดังกล่าว สมควรปลูกต้นไม้หรือพืชคลุมดินให้ทั่วทั้งบริเวณ ทั้งนี้เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันการพังทลายของดิน และทำให้พื้นที่ต้นน้ำลำธารบริเวณนั้นมีความชุ่มชื้นเพิ่มมากขึ้น
๒.๓ การก่อสร้างฝายปิดกั้นทางน้ำ ตามร่องน้ำและลำธารต่างๆ ในบริเวณพื้นที่ต้นน้ำลำธารซึ่งถูกทำลายจนมีสภาพเสื่อมโทรมควรพิจารณาสร้างสิ่งก่อสร้างปิดกั้นลำน้ำที่เรียกว่า "ฝาย" เป็นระยะๆ เพื่อใช้ทดและเก็บน้ำที่ไหลบ่าลงมาไว้ในลำน้ำคล้ายกับอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กให้กระจายอยู่ทั่วไปตามบริเวณพื้นที่ต้นน้ำลำธารโดยน้ำที่เก็บกักนี้จะซึมเข้าไปในดินตามตลิ่งและท้องน้ำ เข้าไปเก็บอยู่ในช่องว่างระหว่างเม็ดดินทำให้น้ำที่เก็บกักอยู่ในดินตามบริเวณต้นน้ำลำธารนั้นมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ทำให้พื้นที่บริเวณต้นน้ำลำธารดังกล่าวเกิดความชุ่มชื้นและมีน้ำไหลอกจากดินหล่อเลี้ยงลำธารตลอดปี
ฝายที่สร้างปิดกั้นทางน้ำในบริเวณต้นน้ำลำธาร อาจสร้างด้วยวัสดุซึ่งมีราคาถูก และหาได้ง่ายในท้องถิ่น เช่น กิ่งไม้ ใบไม้ ไม้ไผ่ เสาไม้ ทราย และกรวด เป็นต้น โดยนำเสาไม้ มาตอกให้ห่างกันเป็นระยะๆ ขวางทางน้ำให้ได้หลายแถวตามที่ต้องการ และนำไม้เคร่ามาตอกติดกับเสาแล้วกรุด้วยไม้ไผ่ติดกับเคร่าพร้อมกับสะกิ่งใบไม้และอัดกรวดทรายลงไปในคอกให้เต็ม หรือฝายในบางท้องที่อาจใช้วัสดุก่อสร้างอันประกอบด้วยก้อนหินขนาดต่างๆ นำมากองก่ายเป็นรูปคล้ายสี่เหลี่ยมคางหมูขวางลำน้ำ โดยในช่องว่างของหินขนาดใหญ่แต่ละชั้นบรรจุด้วยกรวดและหินย่อยขนาดเล็กลงไปจนเต็ม ซึ่งฝายที่สร้างด้วยหินดังกล่าวนี้จะต้านทานน้ำที่ไหลผ่านตัวฝาย และน้ำที่ล้นข้ามสันฝายได้เป็นอย่างดี เมื่อต้องการสร้างฝายให้มั่นคงแข็งแรง และเก็บขังน้ำได้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางน้ำที่มีน้ำไหลแรงในฤดูฝนก็จะต้องใช้วัสดุที่มีความคงทนถาวรเป็นหลัก ได้แก่ หิน ซีเมนต์ และคอนกรีตล้วน โดยมีการคำนวณออกแบบกำหนดสัดส่วนของฝายให้เหมาะสมกับภูมิประเทศ ให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำที่คาดว่าจะมีมามากที่สุดให้ไหลข้ามฝายไปได้อย่างปลอดภัย และจะต้องทำการก่อสร้างให้ถูกวิธีด้วย
ที่มา : http://guru.sanook.com/search/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B9%8C%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89
หรือ สารานุกรมไทยฉบับเยาวชน
วันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2554
โลกร้อน และ แกนโลกเอียงเพิ่มจริงหรือ?
ก่อนหน้านี้เมื่อสัปดาห์ก่อน มีนักวิชาการชื่อดังที่ออกมาเตือนว่า ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก เกิดจากแกนโลกเอียงมากกว่าปกติในช่วงฤดูหนาว โดยเฉพาะจะส่งผลให้ไทยมีอากาศร้อนสูงถึง 42 องศาในฤดูร้อนปีนี้ รวมทั้งจะเกิดคลื่นสตอร์มเซริ์จ ซึ่งนักวิชาการท่านนี้เคยออกมาทำให้คนไทยแตกตื่นหลายต่อหลายครั้ง
เรื่องนี้กลายเป็นภาระหนักที่ทำให้อาจารย์ทางด้านฟิสิกส์ ที่คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต้องประชุมถึงข่าวคราวที่เกิดขึ้น และได้ข้อสรุปว่ามีความจำเป็นที่ต้องแถลงข้อเท็จจริงให้คนไทยและสังคมไทยรับทราบข้อมูล โดยอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงและใช้หลักวิทยาศาสตร์ มากกว่าการพูด
ช่วงบ่ายวันที่ 4 ก.พ.ที่คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ การเปิดประเด็นร้อนเรื่อง “โลกเปลี่ยน : ฤดูเปลี่ยน :ภูมิอากาศเปลี่ยน ” ขึ้น โดย ผศ.พงษ์ ทรงพงษ์ ภาควิชาฟิสิกส์ จุฬาลงกรณ์ เปิดเผยว่า ถือเป็นการให้ข้อมูลที่คลาด เคลื่อน และไม่ได้ใช้หลักฐานทางวิชาการมาอ้างอิง เนื่องจากนำไปโยงกับภาวะโลกร้อน จนทำให้สังคมไทยเกิดความตระหนกตกใจ เนื่องจากแกนโลกหมุนเอียงที่ระดับบวกและลบ 23.5 -24 องศาเป็นภาวะปกติอยู่แล้ว มีการเปลี่ยนกลับไปกลับมาเป็นคาบระยะเวลา 41,000 ปี และเป็นแบบนี้มานานถึง 600,000 ปี และจะมีการเอียงแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ ขณะที่การหมุนของโลกรอบดวงอาทิตย์ก็จะทำให้แต่ละซีกโลกมีฤดูกาลที่ตรงกันข้ามกัน เพราะซีกโลกทั้งสองจะผลักกันเอียงเข้าหาดวงอาทิตย์ เป็นวัฎจักรของการโคจร
“แกนโลก มีความสัมพันธ์ กับ การเกิดฤดูกาล และ ช่วงเวลาระหว่าง กลางวัน และกลางคืน ซึ่งเป็นไปตามกฎของธรรมชาติไม่มีใครเปลี่ยนแปลงได้ แม้อาจมีการเปลี่ยนแปลงบ้าง แต่ก็เป็นรอบเวลานับหมื่นปี ซึ่งจะส่งผลต่อการเปลี่ยแปลงภูมิอากาศได้ แต่จะช้ามากจนมนุษย์ไม่สังเกตเห็นได้”
ผศ.พงษ์ กล่าวว่า แต่หากแกนโลกเอียงมากขึ้น จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสภาพภูมิอากาศทั่วโลก เพราะโลกไม่สามารถปรับเข้าสู่ยุคน้ำแข็ง หรือยุคอบอุ่นได้ตามวัฎจักร และขณะนี้เเราอยู่ในช่วงอบอุ่น แต่หากกพิจารณาเรื่องคาบเวลาคงช้ามากเพราะมีระยะเวลานับ 1 แสนปี อย่างไรก็ตาม องค์ความรู้เรื่องแกนโลกเอียงเป็นเนื้อหาที่สอนกันตั้งแต่สมัยเรียน ม.3 และผู้ที่เรียนจบ ม. 6 ก็น่าจะเข้าใจถึงประเด็นนี้จะได้ไม่ตื่นตระหนกแบบที่ผ่านมา
นักวิชาการอีกท่าน คือ ดร.สธน วิจารณ์วรรณลักษณ์ ภาควิชาฟิสิกส์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ขณะนี้สังคมไทยกำลังอยู่ในอาการที่เรียกว่า “Climate change Crazy” เนื่องจากมีถูกส่งผ่าน และสื่อสารข้อมูลไม่ครบ และไม่ถูกต้อง แม้แต่การนำเอารายงานคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ไอพีซีซี) ที่ถือเป็นองค์การที่ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับโลกร้อนมานานถึง 20 ปีและมีหลักฐานอ้างอิง แต่กลับพบว่าข้อมูลโลกร้อนที่ส่งมาถึงคนไทย เนื้อหาส่วนใหญ่จะมุ่งนำเสนอผลกระทบเพียงด้านเดียวเท่านั้น และยังนำเอาไปใช้เป็นประเด็นทางการ เมือง การค้า และเศรษฐกิจ และการประชาสัมพันธ์มากกว่า
เขามองว่า ในมุมมองของฟิสิกส์มองว่าการที่โลกร้อนขึ้นในช่วงศตวรรษนี้ เป็นการปรับสมดุลตามธรรมชาติ ส่วนมนุษย์ถ้าเปรียบคงเหมือนกับก้อนหินเล็กๆ ที่กำลังจะไปเคลื่อนภูเขา คือธรรมชาติที่ทำให้เกิดปรากฎการณ์ภาวะโลกร้อน แต่ไม่ได้ปฏิเสธว่าคนเป็นตัว การในการทำให้เร่งของภาวะโลกร้อน
นักวิชาการอีกท่านตบท้ายอย่างน่าคิดว่า “ตอนนี้เราจะอยู่กับผลกระทบ ปรับตัว หรือทนอยู่กับปรากฎการณ์?
ผศ.ดร.สมบัติ อยู่เมือง จากภาควิชาธรณีวิทยา บอกว่า ข้อมูลเรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกที่ถูกหยิบมานำเสนอ ที่ผ่านมานั้น เป็นการนำเสนอที่ไม่สมบูรณ์แบบ หรือนำมาแค่บางส่วนเท่านั้น ทำให้เกิดความเข้าใจผิด และความตื่นตระหนกกันเกินกว่าเหตุ และนำไปสู่การแสวงหาผลประโยชน์ต่างๆได้ เช่นข้อมูลเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ไอพีซีซี) ซึ่งทำงานเก็บข้อมูลเรื่องนี้มากว่า 20 ปี มีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้มากมายและละเอียดยิบ ปัญหาคือ คนที่ไปเอาข้อมูลของไอพีซีซีออกมาบอกกับคนอื่นนั้นบอกข้อมูลเพียงครึ่งเดียว หรือบอกไม่หมด
“อุณหภูมิโลกสูงขึ้นจริงแต่ไม่ได้สูงขึ้นทั้งหมด บางที่ที่สูงขึ้นนั้นก็ไม่ได้เลวร้ายอย่างที่เราเข้าใจ เพราะจากการเก็บข้อมูล และนำเสนอมาตลอด 20 ปีนั้นเขาได้บอกถึงผลกระทบ และแนะนำวิธีการปรับตัวและแก้ปัญหาไปในตัวด้วย ที่ปรับตัวและแก้ปัญหาได้เขาก็อยู่กันได้ตามปกติ ไม่ได้ตื่นตระหนกแบบเรา”
Credit : http://www.oknation.net/blog/print.php?id=392918 นะจร้าๆ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)